มิตรภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องสั้นและการเขียนเรื่องสั้น


เรื่องสั้น หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้วเกี่ยวกับเรื่องราวที่สมมุติขึ้น มีโครงเรื่องง่ายๆและมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงไปถึงจุดสุดยอดของเรื่องที่ กำหนดไว้ โดยการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้นๆ ผ่านตัวละครจำนวน 3-5 ตัว และอยู่ภายใต้แนวคิดสำคัญเพียงแนวคิดเดียว โดยส่วนมากเรื่องสั้นมีความยาวประมาณ 8,000 คำ อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลวิธีการเขียนของผู้เขียน ความยาวหรือสั้นจึงไม่ได้กำหนดตายตัว แต่จะยึดลักษณะการเขียนเป็นสำคัญ
ชนิดของเรื่องสั้น 
  1. เรื่องสั้นชนิดเน้นการผูกเรื่อง คือผู้เขียนมักสร้างปมขัดแย้งขึ้นมา ทำให้เกิดความซับซ้อน และมักจบลงด้วยการพลิกความคาดหมายของผู้อ่าน
  2. เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างตัวละคร คือ เรื่องสั้นที่เน้นพฤติกรรมของตัวละคร โดยใช้ตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่องเป็นส่วนใหญ่ โดยมักบรรยายเพื่อแสดงลักษณะของตัวละครอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด่นชัด
  3. เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างบรรยากาศหรือฉากเป็นสำคัญ คือ เรื่องสั้นที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญของฉากและบรรยากาศ เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม
  4. เรื่องสั้นชนิดเน้นแนวคิดหรือความคิดเห็น คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนต้องการเสนอแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อ่าน ได้ไตร่ตรองไปพร้อมๆกับเรื่องในขณะที่อ่าน โดยใช้สัญลักษณ์ กล่าวโดยนัย หรือมุ่งเน้นให้เห็นสัจธรรมของชีวิต

  องค์ประกอบของเรื่องสั้น 
  1. 1.               โครงเรื่อง(Plot)
โครงเรื่อง คือ เหตุการณ์เรื่องราวที่ผู้เขียนร่างขึ้นคร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินเรื่อง ให้น่าสนใจ ชวนติดตามสมเหตุสมผลเรื่อยๆจนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) และคลี่คลายจบลงด้วยดี หรือคาดไม่ถึงก็ได้
โครงสร้างของเรื่องมี 3 ส่วนดังนี้
  1. ส่วนเริ่มเรื่อง(Exposition) หรือ ส่วนต้นเรื่องเป็นการกำหนดสภาวะของเหตุการณ์เพื่อปูทางดำเนินเรื่อง และเป็นการดึงดูดความสนใจไปด้วย โดยอาเปิดเรื่องด้วย การบรรยาย พฤติกรรมของตัวละคร ใช้บทสนทนา เป็นต้น
  2. ส่วนดำเนินเรื่อง (Complication) เป็นส่วนที่เรื่องรวมกำลังดำเนินไป และมักเกิดปัญหาหรือปมขัดแย้ง การเผชิญหน้าของตัวละครกับ เหตุการณ์ หรืออุปสรรค ความทุกข์ เพื่อเร้าใจผู้อ่าน ซึ่งข้อสำคัญอีกอย่างคือ ไม่ควรให้ยืดเยื้อ เพราะมันจะทำให้น่าเบื่อ ปม หรือปัญหาในเรื่องควรคลายที่ละน้อยๆ เพื่อให้ผู้อ่านผ่อนคลายไปด้วย
  3. ส่วนปิดเรื่องหรือการปิดจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) เมื่อดำเนินเรื่องมาจนถึงตอนที่ตึงเครียดและเร้าใจที่สุดแล้วก็ค่อยๆคลายปม ออกและจบลง ซึ่งตอนจบก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จบเรื่องแบบมีความสุขสมหวัง จบแบบคาดไม่ถึง แบบทิ้งปัญหาให้ผู้อ่านได้จินตนาหารต่อไป
2 แก่นของเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง(Theme)
แก่นของเรื่องคือ แนวคิดสำคัญหรือแนวคิดหลักที่ปรากฏตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเข้าด้วยกัน ผู้เขียนสามารถเสนอได้หลักๆดังนี้
  1. แก่นที่แสดงพฤติกรรม คือ เน้นที่จะเสนอพฤติกรรมของตัวละครให้เด่นชัดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุ ของการเกิดปัญหาเรื่อง ทั้งด้านดีและไม่ดี เพื่อให้ผู้อ่านควรยึดถือพฤติกรรมใดเป็นแบบอย่างหรือไม่ควรยึดถือพฤติกรรมใด เป็นแบบอย่าง เช่น ความอดทนของตัวละคร หรือการยึดมั่นในอุดมการณ์
  2. แก่นที่แสดงอารมณ์ คือ เรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเน้นที่จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ เช่น ความรัก ความเหงา ความเศร้า ความอิจฉา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ และกลวิธีการของผู้เขียนด้วย
  3. แก่นที่แสดงสภาพและเหตุการณ์ คือ แก่นที่มุ้งเน้นแสดงให้เห็นภาพของชีวิต สังคมของตัวละคร
  4. แก่นทัศนะ คือ เป็นแก่นที่มุ่งเน้นที่จะเสนอความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่ง เช่น ค่านิยมในสังคม ความซื่อสัตย์ รวมถึงสิ่งตรงกันข้ามโดยใช้ตัวละครเป็นสื่อกลาง
3.ตัวละคร (Character)
                 ในเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งนั้น ต้องมีตัวละคร ประมาณ1-5 ตัวเท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทำให้โครงเรื่องซับซ้อน และสบสน ตัวละครควรมีตัวเอกเพียงตัวเดียว และควรกล่าวให้เด่นชัดที่สุด ส่วนตัวประกอบนั้นอาจกล่าวให้เห็นบ้างไม่ควรเด่นชัดเกินไป คือให้เป็นลักษณะเดียวกันกับฉาก โดยอาจกล่าวเป็นหมู่หรือคณะ ตัวละครอาจไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ อาจเป็นพืช สัตว์ สิ่งของ หากเป็นมนุษย์ต้องมีความสมจริงทางด้านพฤติกรรม และการพูดจาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างมาเหตุสมผล
4.บทสนทนา (Dialogue)
บทสนทนา คือ ถ้อยคำที่ตัวละครพูดโต้ตอบกันในเนื้อเรื่อง ซึ่งเขียนอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ บทสนทนามีส่วนช่วยให้การดำเนินเรื่องและสร้างบรรยากาศให้เรื่องราวดูสมจริง มากขึ้น ทั้งยังทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้ฟังผู้อื่นพูดคุยสนทนากัน
ลักษณะของบทสนทนาที่ดี
  1. ใช้ภาษาได้สมจริงกับฐานะและบุคลิกภาพของตัวละคร
  2. สามารถสื่อให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้อย่างชัดเจน
  3. ชี้ให้เห็นสภาพ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี การศึกษา และการปกครองในเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี
  4. เสนอแนวคิด ค่านิยมถึงผู้อ่านโดยไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนถูกสั่งสอน
  5. ใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เข้าใจง่ายและไม่นอกเรื่อง
อย่างไรก็ตาม บทสนทนาก็ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของเรื่องสั้นเสมอไปเพราะในเรื่องสั้นบาง เรื่องนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้บทสนทนาก็สามารถดำเนินเรื่องไปได้
5.ฉาก (Setting)
 ฉาก คือ สถานที่ เวลา และบรรยากาศในเรื่องที่ผู้แต่งสร้างขึ้นเพื่อบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยส่วนมากเรื่องสั้นทั่วไปไม่นิยมบรรยายฉากมากเพียงแค่บรรยายอย่างคร่าวๆ กล่าวอย่างตรงไปตรงมาเน้นความกระชับ และฉากยังเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านทราบถึงบรรยากาศในท้องเรื่องอีกด้วย
    การบรรยายฉาก นอกจากจะบรรยายโดยตรงแล้วยังสามารถบรรยายทางอ้อมได้โดย ผ่านทางบทสนทนาของตัวละคร ผ่านวัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น ข้อควรคำนึงของการบรรยายฉากคือ ผู้เขียนจะต้องศึกษาค้นคว้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ทางภูมิศาสตร์ หากผิดเพี้ยนจะทำให้ความต้องการเสริมบรรยากาศในเรื่อง อาจถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว
กลวิธีการแต่ง
กลวิธีการแต่ง หมายถึง วิธีที่ผู้เขียนใช้ในการนำเสนอเรื่องราวเพื่อให้ดำเนินเรื่องไปตามที่วางไว้ และเข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องตามความต้องการของผู้เขียนเอง
กลวิธีการแต่งมี 3ขั้นตอนดังนี้
  1. ตอนเปิดเรื่อง ควรเปิดเรื่องให้น่าสนใจมากที่สุด สามารถดึงดูดใจผู้อ่านต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งการเปิดเรื่องสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การบรรยายฉาก บรรยายพฤติกรรมของตัวละคร หรือใช้บทสนทนา
  2. ตอนดำเนินเรื่อง ในตอนนี้ผู้เขียนทั่วไปมักผูกปมปัญหา สร้างอุปสรรคให้ตัวละครได้เผชิญและแก้ปัญหา เพื่อให้เห็นความยุ่งยาก เกิดความขัดแย้ง ตลอดจนทำให้ผู้อ่านคล้อยตาม หรือมีอารมณ์ร่วมในเรื่อง เช่นความสงสาร ความเกลียดชัง ความทุกข์ยาก
  3. ตอนจบเรื่อง อาจจบลงในตอนที่ปมปัญหาคลายแล้ว หรือจบลงที่จุดสุดยอดของเรื่องก็ได้ การจบอย่างที่กล่าวไปข้างต้น คือสามารถจบได้หลายแบบ เช่น จบแบบพลิกความขาดหมาย จบแบบทิ้งปัญหาไว้ให้คิดตาม เป็นต้น

เมื่อเราศึกษาการเขียนเรื่องสั้นข้างต้นที่กล่าวมาจนเข้าใจแล้ว สิ่งต่อมาคือต้องลงมือเขียน การที่เราจะลงมือเขียนก็จำเป็นต้องเลือกแนวและที่จะเขียนให้เด่นชัด แน่นอนก่อน แนวของเรื่องสั้นนั้นก็มีหลายแนว เช่น แนวรัก ต่อสู้ผจญภัย แนวตลก แนวสยองขวัญ แนวชีวิต ซึ่งแนวเหล่านี้เหมาะแก่การเขียนเรื่องสั้นเพราะ ไม่ต้องอธิบายเหตุผลให้ผู้อ่านเข้าใจมากนักหรือใช้เวลาในการอธิบายน้อย ซึ่งผู้เขียนจะเลือกแนวไหนนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดในการเขียน ความชอบ หรืออยากเขียน  เท่านี้ก็เป็นพื้นฐานในการเริ่มเขียนได้แล้ว

และสิ่งต่อมาคือการก้าวสู่เส้นทางนักเขียนโดยสมบรูณ์ ซึ่งสิ่งที่นักเขียนต้องมีคือ
1. เชื่อมั่นในตัวเอง  ความเชื่อมั่นในตนเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เรากล้าที่จะนำเสนองานของตัวเอง ก่อนอื่นอาจเริ่มจากการให้เพื่อน หรือคนรู้จักอ่านผู้ที่มีความรู้ในด้านงานเขียน แล้วจึง เอางานที่ตัวเองเขียนไปเสนอตามสำนักพิมพ์ต่างๆ อย่ากลัวที่จะปฏิเสธ ถ้ายังไม่เคยลองดูก็ ลองดูเถอะ เพียงแค่เชื่อมั่นในผลงานของตัวเองหรือคิดว่ามันยังไม่ดีพอ ถ้าคิดว่ายังก็รีบปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น แล้วเสนองานซะ บางทีเราอาจพบในจุดที่บกพร่องของเราก็ได้แล้วมันยิ่งจะทำให้เราพัฒนาตัวเอง ให้เร็วละดียิ่งๆขึ้นไป
2. ความตั้งใจ
ความตั้งใจอาจบวกด้วยความชอบยิ่งมีพลังมากขึ้น งานเขียนจะต้องตั้งใจจริงไม่ย่อท้อง่ายๆเพียงเพราะการถูกปฏิเสธจากสำนัก พิมพ์ “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” คตินี้ใช้ได้จริงกับนักเขียน เพียงแค่แสดงความตั้งใจจริงลงไปในผลงาน อย่างพิถีพิถัน และความรักในงานเขียนไม่ทำงานลวกๆ หรือพอผ่านๆ ความตั้งใจเป็นสิ่งหนึ่งทีจำเป็นต่อการเป็นนักเขียน
3. การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
เป็นสิ่งที่คนทำงานเขียนทุกๆด้าน จะต้องมีแม้ว่าจะเป็นนักเขียนหน้าใหม่ แต่คุณต้องก้าวสู่วงหารนักเขียนมืออาชีพอยู่ดีการพัฒนาฝีมือเสมอๆเป็นสิ่ง หนึ่งที่ต้องทำเป็นประจำ เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและไม่ซ้ำซาก น่าเบื่อ และค้นพบตัวเอง เทคนิค ใหม่ๆ แสดงถึงผู้เป็นมืออาชีพของการทำงานทุกวงการและเพิ่มคุณภาพของงานและตัวคุณ เอง สู่ความสำเร็จในระดับที่สูงๆยิ่งขึ้นอีก



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://eviltwin-bussaba.exteen.com/20110128/entr

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น