มิตรภาพ

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อสังเกตความแตกต่างของคำบาลีและสันสกฤต ในภาษาไทย

คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
  1. สระสันสกฤต ต่างจากบาลี 6 ตัว คำใดประสมด้วยสระ  ฤ  ฤา  ฦ  ฦๅ  ไอ  เอา  เป็นคำในภาษาสันสกฤต  
  2. คำใดประสมด้วย  ศ  ษ  มีในภาษาสันสกฤต  ไม่มีในภาษาบาลี  เช่น  อภิเษก  ศีรษะ  อวกาศ  ศัตรู  ศิลปะ ราษฎร  ศอก  ศึก  อังกฤษ  ศึกษาศาสตร์
  3. คำสันสกฤต ใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้  ฬ
  4. คำในภาษาสันสกฤตมีระบบเสียงควบกล้ำ หรือพยัญชนะประสม  คำควบกล้ำจึงมักเป็นคำภาษาสันสกฤต  เช่น  สตรี  ปรารถนา  สวัสดี  สมัคร  มาตรา อินทรา
  5. คำที่ไทยใช้  รร  มาจากสันสกฤต  ตัว ร ที่ควบกับคำอื่นและใช้เป็นตัวสะกด เช่น  มรรค สรรพ มารค (มารฺค สรฺว อารฺย จรฺยา)
  6. ฤ (ฤทธิ)  ในสันสกฤต   บาลีจะเป็น อิทฺธิ  (อิ อุ)
  7. คำที่ใช้  ห์  มักเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น   สังเคราะห์   โล่ห์  อุตส่าห์ เท่ห์ เล่ห์  เสน่ห์ (? บาลีก็มี เช่น โลห อุสฺสาห เทห สิเนห เสนฺห)
คำที่มาจากภาษาบาลี
  1. คำในภาษาบาลีไม่มีสระเหล่านี้  ฤ ฤา ฦ ฦๅ ไอ เอา  (สระบาลีมี 8 ตัว คือ อ  อา อิ  อี  อี  อุ  อู  เอ  โอ)
  2. คำที่มาจากภาษาบาลีใช้ ส ทั้งหมด (สันสกฤตมี ทั้ง ศ ษ ส)
  3. คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้ ฬ    ดังนั้นคำที่มี ฬ จึงเป็นคำภาษาบาลี  เช่น  กีฬา  กาฬ  โกวิฬาร  กักขฬะ ประวาฬ
  4. ภาษาบาลีไม่มีพยัญชนะประสมหรือควบกล้ำ (? บาลีใช้คำควบกล้ำน้อยกว่าสันสกฤต)
  5. บาลีใช้  ริ  เช่น  อริยะ -  จริยะ  (อริย จริยา)
  6. อิ อุ ในบาลี เช่น อิทธิ    สันสกฤต จะเป็น ฤ เช่น ฤทธิ์
ตัวอย่างคำที่มาจากสันสกฤต 
อังกฤษ  ศึก  ศอก  พฤกษ์  ประพฤติ  ศาสนา  เกษม  ดรรชนี  วิทยุ  ประจิม  ธรรมศาสตร์  เกษตร  ศิลปากร  วัชระ  สัตย์  มฤตยู    อินทร์  อัคนี  ภัสดา  มัธยม  ศึกษาศาสตร์  ศากยะ  กษัตริย์  พิสดาร  พฤษภ  ปราณี  สวรรค์  กรรม  ฤทธิ์  ศรี  รัศมี  อภิเษก  เกษียณ  หฤทัย  คฤหาสน์  วิทยา  เสนา  เลขา  เสวก  พิษ  มนุษย์  กรีฑา  ครุฑ  อิศวร  วิเศษ  วิศาล  วิเศษ  สวามี  เนตร สตรี  อยุธยา อาศรม อาศัย  ราษฎร ฤษี สัตว์  กระดาษ  ดาษดา  พิศ  เลิศ  บำราศ  ปราศ พฤศจิกายน  อัศจรรย์  โอษฐ์  กฤษณา  พัสดุ  เกษียร  อาญา
ตัวอย่างคำที่มาจากบาลี
สามัญ  วิชา  อิสิ  จริยา  ฐาปนา  สันติ  วัฒนา  บุญ  เวช  สิทธิ  จุฬา สิกขา  อัคคี  นิสิต  สงฆ์  ทุกข์  มัจฉา  รังสี  รัฐ  วิชา  โอฬาร  กิริยา  สมภาร    โมลี  วชิระ  ปฐม  เรขา  เสนา โอสถ  ปิตุ ปัจฉิม  วิชชา  ญาณ  ฐาน  วุฑฒิ  ถาวร  วิตถาร  ตัณหา  ญาติ  สิกขา  มัชฌิมา  นิพพาน  กีฬา  จุฬา  สามี ปฏิเสธ  สาวก สามัญ  ขณะ อุตุ  นิจ สัจจ มัจฉา


ที่มา : http://www.palidict.com

คำภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย

คำภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งในสมัย  ปัจจุบันทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง  คือพบตั้งแต่ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีไม่มากนัก แต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า  ในสมัยสุโขทัยนั้นไทยได้นำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยของเราแล้ว   และในสมัยต่อมาก็ปรากฏว่านิยมใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตในการแต่งวรรณคดีมากขึ้น
วิสัณติ์ กฏแก้ว (2529 : 2) ได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้คำบาลีและสันสกฤตเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาใช้ในทางวรรณคดี   พอจะสรุปได้ดังนี้
  1. วรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมที่ถือเอาเสียงไพเราะเป็นสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง  นอกจากจะถือเอาความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญแล้ว ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทฉันท์ จะต้องถือคำ ครุ ลหุ เป็นสำคัญอีกด้วย  คำที่เป็นเสียงลหุในภาษาไทยมีน้อยมาก  จึงจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต  เพราะสามารถเลือกคำลหุ ครุ ได้มาก และสามารถดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของเราได้ดี
ตัวอย่าง
ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี   สรรเพชญพระผู้มีพระภาค
อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์ ทรงคุณคะนึงมาก  ประมาณ
                   (สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 – อิลราชคำฉันท์)
  1. คนไทยถือว่าคำบาลีและสันสกฤตเป็นคำสูง เพราะเป็นคำที่ใช้เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า และผู้ที่ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะควรแก่การเคารพบูชาทั่วไป เช่น พระสงฆ์ พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งฉันท์ที่ถือกันว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้คำบาลีและสันสกฤต
  2. วรรณคดีไทยโดยมากมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งจะต้องใช้คำราชาศัพท์   การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นคำราชาศัพท์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่น พระเนตร พระพักตร์ พระกรรณ เป็นต้น
  3. การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตแต่งฉันท์ เป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ของผู้แต่งว่ามีความรู้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นอย่างดี มีคนเคารพนับถือและยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์”
ที่มา: learners.in.th

ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

ประวัติภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต จัดอยู่ภาษาอินเดีย-ยุโรป ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย  พวกอารยันได้เข้ามาในอินเดีย เมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตศักราช (ปรีชา ทิชินพงศ์, 2534 : 1) นักปราชญ์ทางภาษาได้แบ่งภาษาตระกูลอารยันในอินเดียออกเป็น 3 สมัย ดังนี้
  1. ภาษาสมัยเก่า หมายถึงภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวท ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท รวมตลอดทั้งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายของคัมภีร์พระเวท (เวทานต์)   ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะมีความเก่าแก่ลดหลั่นกันมาตามลำดับ ภาษาสันสกฤตก็จัดอยู่ในสมัยนี้ด้วย
  2. ภาษาสมัยกลาง ได้แก่ ภาษาปรากฤตซึ่งเป็นภาษาถิ่นของชาวอารยันที่ใช้กันท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศอินเดีย เช่นภาษามาคธี มหาราษฏรี เศารเสนี เป็นต้น   ภาษาในสมัยนี้มีลักษณะโครงสร้างทางเสียง และนอกจากจะเรียกว่าภาษาปรากฤตแล้วยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาษาการละคร” เพราะเหตุที่นำไปใช้เป็นภาษาพูดของตัวละครบางตัวในบทละครสันสกฤตด้วย
  3. ภาษาสมัยใหม่  ได้แก่ ภาษาต่างๆในปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี เบงกาลี ปัญจาบี มราฐี เนปาลี เป็นต้น   ภาษาเหล่านี้แม้จะเข้าใจกันว่าสืบมาจากภาษาปรากฤต  แต่มีลักษณะของภาษาผิดกันมาก  เพราะมีภาษาตระกูลอื่นที่ไม่ได้สืบมาจากภาษาของชาวอารยันเข้าไปปะปนกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ภาษาสันสกฤต
ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาในคัมภีร์พระเวทของชาวอารยัน  ถือเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนชั้นสูง   แต่เดิมนั้นไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์เคร่งครัดนัก   ต่อมาเมื่อระยะเวลาล่วงไปนานๆ  ประกอบกับภาษาในคัมภีร์พระเวทนี้มีภาษาพื้นเมืองปะปนอยู่มาก   เป็นเหตุให้หลักเกณฑ์ต่างๆ ของภาษานี้คลาดเคลื่อนไปมาก  จนกระทั่งได้มีนักปราชญ์ของอินเดียคนหนึ่งชื่อ “ปาณินิ” ได้ศึกษาคัมภีร์พระเวททั้งหลาย  แล้วนำมาแจกแจงวางหลักเกณฑ์ให้เป็นระเบียบและรัดกุม แต่งเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้นเรียกชื่อว่า “อัษฎาธยายี”  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่แต่งได้ดีที่สุดและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก   และต่อมาได้มีผู้เรียกภาษาที่ปาณินิได้จัดระเบียบของภาษาไว้เป็นอย่างดีและสมบูรณ์ที่สุดนี้ว่า “สันสกฤต”  ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ได้จัดระเบียบและขัดเกลาเรียบร้อยดีแล้ว”   แต่กฎเกณฑ์ที่ปาณินิได้วางไว้นี้กลับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตไม่มีวิวัฒนาการเหมือนภาษาอื่นๆ  เพราะนอกจากภาษาสันสกฤตจะถือว่าเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในหมู่ของนักปราชญ์ โดยเฉพาะกษัตริย์และพราหมณ์ที่เป็นบุรุษเพศ   กฎเกณฑ์และรายละเอียดปลีกย่อยยังทำให้ไม่เอื้อต่อการใช้  จึงทำให้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาตายในที่สุด
ภาษาบาลี
ภาษาบาลี เป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาพระเวท   ภาษาบาลี คือ ภาษาที่ชาวมคธใช้พูดกันในแคว้นมคธ เรียกว่า “ภาษามาคธี” พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษานี้ประกาศพระศาสนาของพระองค์   ภาษามาคธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (เจิม ชุมเกตุ, 2525:3)
  1. สุทธมาคธี เป็นภาษาของชนชั้นสูง คือภาษาของกษัตริย์หรือภาษาทางราชการ
  2. เทสิยา หรือ ปรากฤต ได้แก่ ภาษาประจำถิ่น
พระพุทธเจ้าทรงใช้สุทธมาคธีเป็นหลักในการประกาศคำสั่งสอนของพระองค์  และในสมัยนั้นทรงเผยแผ่พระธรรมด้วยวิธีมุขปาฐะ  โดยมิได้มีบันทึกหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร   ภาษาบาลีนี้นำมาใช้บันทึกพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3   ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช  ถือเป็นภาษาประจำพุทธศาสนานิกายหินยาน [เถรวาท]   ส่วนศาสนานิกายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกพุทธวจนะ (สุภาพร มากแจ้ง, 2535 : 4)   และต่อก็ใช้ภาษาบาลีจารึกพระธรรมลงในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราหลักทางพระพุทธศาสนา    อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับภาษาสันสกฤต  คือใช้เป็นภาษาเขียนในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาเท่านั้น   ไม่ได้ใช้พูดหรือใช้เขียนในชีวิตประจำวัน  จึงไม่มีการเจริญเติบโต ไม่มีวิวัฒนาการเหมือนกับภาษาอื่นๆ  และกลายเป็นภาษาตายในที่สุด
เหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปะปนในภาษาไทย
เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในสู่ประเทศไทย  และคนไทยได้ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ   คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาบาลีและสันสกฤต  เพราะคำสอนทางศาสนาเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต (สันสกฤต : มหายาน)    ดังนั้นจึงได้เกิดคำภาษาบาลีและสันสกฤตใช้ในภาษาไทยมากขึ้น (วิสันติ์ กฎแก้ว, 2529 : 1)   นอกจากการรับนับถือศาสนาพุทธแล้ว   ไทยยังได้รับเอาความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ  รวมทั้งวรรณคดีบาลีและสันสกฤตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  ซึ่งเป็นส่วนทำให้เรารับคำภาษาบาลีและสันสกฤตซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เข้ามาใช้ในภาษาไทย
สุธิวงศ์ พงษ์บูลย์ (2523 : 5) ได้กล่าวถึงเหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยว่า  เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ   สรุปได้ดังนี้
  1. ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา  เมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย   ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต และศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ในการเผยแผ่ศาสนา   ไทยได้รับศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และรับคติของศาสนาพราหมณ์มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  โดยเฉพาะในลัทธิธรรมเนียมประเพณีต่างๆ  เราจึงรับคำในลัทธิทั้งสองเข้ามาใช้ในลักษณะของศัพท์ทางศาสนา และใช้เป็นศัพท์สามัญทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  2. ความสัมพันธ์ทางด้านประเพณี  เมื่อชนชาติอินเดียได้เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย  ก็นำเอาประเพณีของตนเข้ามาปฏิบัติ ทำให้มีคำที่เนื่องด้วยประเพณีเข้ามาปะปนในภาษาไทย  และนานเข้าก็ได้กลายเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย เช่น  ตรียัมปวาย มาฆบูชา  ตักบาตรเทโว  ดิถี กระยาสารท เทศน์มหาชาติ กฐิน จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฉัตรมงคล พืชมงคล เป็นต้น
  3. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม   อินเดียเป็นประเทศที่เจริญทางด้านวัฒนธรรมมานาน  อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของอินเดียมีต่อนานาประเทศทางภาคพื้นตะวันออกก่อนที่วัฒนธรรมตะวันตกจะเข้ามา  ไทยได้รับอิทธิพลของอินเดียทุกสาขา เช่น
    1. ศิลปะ   ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  เช่น ทางดนตรีและนาฏศิลป์   ภาษาที่ใช้เนื่องด้วยเป็นศิลปะจึงเข้ามาปะปนในภาษาไทย เช่น มโหรี ดนตรี ปี่พาทย์
    2. ดาราศาสตร์  อินเดียมีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์มาช้านานจนมีตำราเรียนกัน  เมื่อวิชานี้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย  ทำให้คำต่างๆที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น สุริยคติ จันทรคติ จันทรคราส
    3. การแต่งกาย  ศัพท์ทางด้านวัฒนธรรมการแต่งกายที่ได้รับมาส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เช่น มงกุฎ ชฎา สังวาล
    4. สิ่งก่อสร้าง   คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นศัพท์ที่เรียกชื่อสิ่งก่อสร้างทางศาสนาและราชวัง เช่น นภศูล ปราสาท เจดีย์
    5. เครื่องมือเครื่องใช้  เครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาวอินเดียนำเข้ามาในประเทศไทย  ทำให้เราได้รับคำที่เรียกเครื่องมือเครื่องใช้นั้นๆเข้ามาใช้ด้วย เช่น อาวุธ ทัพพี คนโท
    6. การใช้ราชาศัพท์   การใช้ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย  ที่ต้องการแยกศัพท์ของคนสามัญชนออกจากศัพท์ที่ใช้กับพระราชาและเชื้อพระวงศ์  เป็นเหตุให้เรารับคำบาลีและสันสกฤต  ซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่สูงเข้ามาใช้ เช่น พระเนตร พระบาท พระกรรณ บางคำก็รับเข้ามาเป็นคำสุภาพ เช่น บิดา มารดา ฯลฯ
  1. ความสัมพันธ์ทางด้านวิชาการ   เนื่องจากวิทยาศาสตร์และวิทยาการเจริญกว้างขวางขึ้น ทำให้คำที่เราใช้อยู่เดิมแคบเข้า  จึงจำเป็นต้องรับคำบาลี สันสกฤต เข้ามาใช้ เพื่อความเจริญและความสะดวก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แพทย์ เภสัช ฯลฯ
  1. ความสัมพันธ์ทางด้านวรรณคดี   วรรณคดีอินเดียมีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งวรรณคดีสันสกฤต และวรรณคดีที่เนื่องมาจากชาดกในพระพุทธศาสนา  เมื่อเรารับเอาวรรณคดีเหล่านี้เข้ามา  จึงมีศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวกับวรรณคดีเหล่านี้เข้ามามากมาย เช่น ครุฑ สุเมรู หิมพานต์ ฯลฯ
ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย  คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ  เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ  เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลิงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก   โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค  ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
  1. หน่วยเสียงสระ
    หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง  คือ  อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ
    หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ   ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
    หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง  ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ
    ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสองภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ  พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี  
  1. สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
    ตัวสะกด คือ  พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์ (ก = ตัวสะกด)
ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น   คำในภาษาบาลี จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้  
แถวที่12345
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรคย ร ล ว ส ห ฬ อํ

มีหลักสังเกตตัวสะกดดังนี้
  1. พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
  2. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ  ปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น
  3. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น  อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คัพภ (ครรภ์)
ง. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น
จ. พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ “ฬ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ อาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น
3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น
บาลีไทย บาลีไทย
รัฎฐรัฐ อัฎฐิอัฐิ
ทิฎฐิทิฐิ วัฑฒนะวัฒนะ
ปุญญบุญ วิชชาวิชา
สัตตสัต เวชชเวช
กิจจกิจ เขตตเขต
นิสสิตนิสิต นิสสัยนิสัย

ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์ กิจจะลักษณะ เป็นต้น
วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้
  1. พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัว คือ ศ, ษ
    ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น   ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ
  2. ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน   ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้ ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น
  3. สังเกตจากสระ   สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
    ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา
    ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น
  4. สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น จักร อัคร บุตร สตรี ศาสตร์ อาทิตย์ จันทร์ เป็นต้น
  5. สังเกตจากคำที่มีคำว่า “เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น
  6. สังเกตจากคำที่มี “ฑ” อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
  7. สังเกตจากคำที่มี “รร” อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน  ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้
1. ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน  เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกัน เรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต  เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า  เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
กมฺมกรฺมกรรม
จกฺกจกฺรจักร

2. ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
ครุฬครุฑครุฑ
โสตฺถิสฺวสฺติสวัสดี

3. คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก  ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
ขนฺติกฺษานฺติขันติ
ปจฺจยปฺรตฺยปัจจัย

4. รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อย แต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
กณฺหากฺฤษฺณากัณหา, กฤษณา
ขตฺติยกฺษตฺริยขัตติยะ, กษัตริย์

5. คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป   แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น
บาลีสันสกฤตไทยความหมาย
กิริยากฺริยากิริยาอาการของคน
  กริยาชนิดของคำ
โทสเทฺวษโทสะความโกรธ
  เทวษความเศร้าโศก




ที่มา : http://www.palidict.com/

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การเขียนสารคดี

สารคดีเป็นงานเขียนที่มีมานานแล้วใน ประเทศไทย  แต่นิยมเขียนไว้ในรูปของ  พงศาวดาร  ตำนาน  ตำรา  หนังสือสอนศาสนา  จดหมายเหตุ  ประกาศของทางราชการ ฯลฯ  การเขียนสารคดีของไทยเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทั้งนี้เพราะได้มีการติดต่อกับประเทศทางตะวันตก 
๑.     ความหมายของสารคดี       
                 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช  ๒๕๔๒ อธิบายความหมายของสารคดีว่า  หมายถึง  “ เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง  มิใช่เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ“ 
งานเขียนสารคดีจึงเป็นข้อเขียนที่ ผู้เขียนต้องการจะให้สาระ ความรู้ ความคิด  โดยไม่ใช้จินตนาการและอารมณ์ผสมผสานลงไป  แต่จะต้องใช้ภาษาสำนวนที่มีศิลปะ  คมคาย  เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

                 ด้วยเหตุที่  สารคดีเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความเป็นจริง  ทำให้เนื้อหาของสารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ   ได้แก่  บุคคล  ภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  วิทยาศาสตร์  การเดินทางท่องเที่ยว การอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  แนะนำกิจกรรมต่าง ๆ  สถานสำคัญ
ในแต่ละท้องถิ่น
        
๒.    ประเภทของสารคดี                  
         สารคดีแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้          
                  ๒.๑  สารคดีบุคคล  เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตที่น่าสนใจของบุคคลทั่วไปใน
แง่มุมต่าง  ๆ

                 ๒.๒  สารคดีโอกาสพิเศษ  เป็นเรื่องที่เขียนตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ของ
แต่ละชาติ เช่น 
วันสุนทรภู่  วันวิสาขบูชา                
                 ๒.๓  สารคดีประวัติศาสตร์  เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่นำมาเขียนขึ้น
เพื่อย้ำเตือนจิตสำนึกของอนุชนรุ่นหลัง  หรือให้เห็นความสำคัญ  เช่น  สงครามยุทธหัตถี 
การสร้างกรุงเทพมหานคร
                
                 ๒.๔  สารคดีท่องเที่ยว  เป็นการนำเรื่องราวที่พบเห็นจากการท่องเที่ยวมาเขียนถึงในแง่มุมต่าง ๆ ตามทัศนะของตน
                
                ๒.๕  สารคดีแนะนำวิธีทำ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงขั้นตอนการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นการทำอาหาร  การผลิตธนบัตร
                
               ๒.๖  สารคดีเด็ก  เขียนถึงเรื่องราวของเด็กในแง่มุมต่างๆ เช่น การเลี้ยงดู
การใช้แรงงานเด็ก              
               ๒.๗  สารคดีสตรี  เขียนถึงสตรีในแง่มุมต่าง ๆ
                
               ๒.๘  สารคดีเกี่ยวกับสัตว์  เขียนถึงสัตว์ในแง่ของการให้ความรู้ที่เป็นสาระ
                
               ๒.๙  สารคดีความทรงจำ  เป็นเรื่องราวของความทรงจำในอดีตที่เล่าให้ผู้อื่นเขียน  หรือเขียนเอง  เช่น  การละเล่นสมัยก่อน  การอพยพหนีสงคราม
                
              ๒.๑๐  สารคดีจดหมายเหตุ  เป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์  
๓.     หลักการเขียนสารคดี
         การเขียนสารคดีมีหลักในการเขียน  ดังนี้
                   ๓.๑   การเลือกเรื่อง   เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี  จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ  หรือทันสมัย  หากเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป  หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต  ก็ควรนำเสนอให้น่าสนใจด้วยมุมมองที่แปลกใหม่  มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  และมุ่งนำเสนอข้อเขียนที่เป็น
ความรู้  ความคิดจากเรื่องจริง  เหตุการณ์จริง  และจะต้องเขียนให้อ่านเพลิดเพลิน  มีอรรถรส

                  ๓.๒   การตั้งชื่อเรื่อง  ควรตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ  สะดุดหู  สะดุดตา  ควรเป็นชื่อที่เข้ายุคเข้าสมัยในปัจจุบัน  ควรหาคำที่มีความหมายกว้าง ๆ  เพื่อให้
ครอบคลุมเนื้อหา  แต่ชื่อเรื่องต้องตรงกับเนื้อหาด้วย  แนวทางการตั้งชื่อเรื่อง

                          -  แบบชี้นำเนื้อหา  โดยการนำความสำคัญของเนื้อหามาสรุปเป็นความคิดรวบยอดเช่น  ครูไทย...ภารกิจที่ไม่มีวันเสร็จสิ้น,  ยาบ้ามหาภัย
                          -  แบบสำบัดสำนวน  นำสำนวนแปลก ๆมาใช้ เช่น  แสนแสบแสบสยิว  สยึ๋มกึ๋ย                         
                          -  แบบคนคุ้นเคย  เหมือนผู้เขียนคุ้นเคยกับผู้อ่าน  เช่น  มาช่วยกันป้องกันเหตุร้ายกันเถอะ  การอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านจัดสรร
                         
                          -  แบบคำถาม  เช่น  จริงหรือที่เขาว่าหัวหินสิ้นมนต์ขลัง
                      
                          -  แบบชวนฉงน  เช่น  ตายแล้วฟื้น,   ตายแล้วไป....                      
                  ๓.๓  กำหนดจุดมุ่งหมายและแนวคิดสำคัญ    การกำหนดจุดมุ่งหมายอาจตั้งคำถามว่าต้องการเขียนให้ใครอ่าน ต้องการให้ผู้อ่านคิด/ ทำอย่างไร  ผู้เขียนต้องกำหนดแนวคิดให้ชัดเจนว่า  สารคดีเรื่องนี้ต้องการจะเสนอแนวคิดสำคัญอะไร  มีแก่นเรื่องอะไรนำเสนอแก่ผู้อ่าน  เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาถ่ายทอดถ้อยคำหรือประโยคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น
                  ๓.๔  การหาข้อมูล  แหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการเขียนสารคดี  ได้แก่  หนังสือ  สารานุกรม  นิตยสาร  วารสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต  การสัมภาษณ์  การสนทนา  และการเก็บข้อมูลภาคสนาม  เป็นต้น
                   ๓.๕  การวางโครงเรื่อง  ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องก่อนเขียน  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน  ว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ  แยกเป็นกี่ประเด็น  ประเด็นใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง 
ใน ประเด็นหลักมีประเด็นย่อย ๆ  มีตัวอย่าง  มีเหตุผล  เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง  การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้โดยง่าย  ไม่สับสน  วกวน  นอกเรื่อง  ทำให้เรื่องมีเอกภาพ  มีลำดับต่อเนื่องกัน  และได้เนื้อความครบถ้วน

                  ๓.๖  การลงมือเขียน  สารคดีมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับความเรียงทั่วไป  คือ
                          -  ความนำ / การเปิดเรื่อง                                   
                          -  เนื้อเรื่อง / การดำเนินเรื่อง
                         
                          -  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง

                          ๓.๖.๑   ความนำ / การเปิดเรื่อง  เป็นการเปิดเรื่องบอกกล่าวให้ผู้อ่าน
รู้ก่อนว่าจะเขียนอะไร  เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ  การขึ้นความนำอาจทำได้หลายประการ  เช่น

 -  แบบสรุปเนื้อหาให้ผู้อ่านรู้ว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  ทำไม  
-  ขึ้นต้นจากชื่อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อหาหลัก 
-  เรื่องในสังคมที่คนกำลังสนใจ                                     
-  คำพูดของบุคคลสำคัญ 
-  เล่าเรื่องลักษณะคล้ายนิทานแล้วโยงเข้าหาเนื้อเรื่อง 
-  เหตูการณ์สำคัญในเรื่อง                                 
-  ยกสุภาษิต  คำพังเพย  กวี  นิพนธ์  คำคม
-  ใช้ประโยคสำคัญ  ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมากล่าว
-  ใช้คำถาม                                                      
-  ยกเหตุการณ์เปรียบเทียบ
-  พรรณนา                                                      
-  ย้อนอดีต  โยงเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบัน
                          ๓.๖.๒   เนื้อเรื่อง  / การดำเนินเรื่อง   กลวิธีการดำเนินเรื่องของสารคดีอาจเป็นการ เล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้เขียน  หรือมีการแทรกบทสนทนา  หรือบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนต้องสอดแทรกความคิดเห็นของตนในเนื้อเรื่องด้วย  เนื้อเรื่องต้องมีส่วนที่เป็นใจความหลัก และส่วนขยายความให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น  เช่น  การเสนอข้อมูลแสดงสถิติ  แสดงการเปรียบเทียบ  ตัวอย่างประกอบ  แต่อย่าให้มากเกินไป
                       ๓.๖.๓  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง  เป็นส่วนทำให้ผู้อ่านประทับใจ  ควรเขียนให้กะทัดรัดจับใจผู้อ่าน  โดยการสรุปข้อมูล  ข้อคิด แสดงข้อคิดเห็น  คำแนะนำ  วิธีแก้ปัญหาของผู้เขียน  อย่างสร้างสรรค์  โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือ  สรุปให้เกิดความตระหนัก
               ๓.๗  การใช้ภาษา  ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เพราะจะทำ ให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  หากเป็นการใช้ศัพท์เฉพาะหรือภาถิ่นควรอธิบายความหมายไว้ด้วย  นอกจากนี้ควรใช้โวหาร  สำนวน  ภาพพจน์  ตลอดจนระดับภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง 
จะเขียนแบบพรรณนา  บรรยาย  อธิบาย  หรือ โน้มน้าว ก็ได้       

                 ๓.๘  ความยาวของสารคดี  ไม่ควรมีความยาวมากเกินไป  เพราะสารคดีมีลักษณะเป็นบทเป็นตอน  ไม่ใช่ตำราหรือหนังสืออ้างอิง  จึงควรมีความยาวในการอ่านประมาณ  ๑๕  นาที
                  ๓.๙  การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว  แต่ละคนมีลักษณะและลีลาการเขียนที่แตกต่างกัน  จะเลือกแบบใดก็ได้  แต่อย่าลืมว่าผู้เขียนได้ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีมาก่อน  แล้วจึงเลือกหาแนวถนัดของตนเองโดยไม่เลียนแบบผู้อื่น
                  ๓.๑๐  ทบทวนและปรับปรุง  เมื่อจบเรื่องควรทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่  จากนั้นอ่านตรวจทานอีกครั้ง  หรือถ้าได้เก็บเรื่องที่เขียนไว้สัก 
๒ – ๓  วัน 
แล้วนำกลับมาอ่านตรวจอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะยิ่งดี     
 ๔.     ภาพประกอบสารคดี
มีคำเปรียบเปรยไว้ว่า   ภาพดี ๆ เพียง ๑ ภาพ  แทนคำบรรยายได้นับ  ๑,๐๐๐ คำ  สารคดี

จึงต้องมีภาพประกอบ  เพื่อให้งานเขียนสมบูรณ์  น่าเชื่อถือ  เรียกร้องความสนใจจากผู้ อ่าน  ภาพประกอบสารคดีควรมีลักษณะ  ดังนี้  มีความคมชัด  เสริมให้เนื้อหาเด่น  ภาพกับเนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกัน  เป็นภาพถ่ายจากแหล่งข้อมูลโดยตรง  มีมุมถ่ายหลายมุม  ถ้าใช้ภาพเขียนต้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  มีคำบรรยายภาพที่ถูกต้อง  ชัดเจน  ภาพถ่ายมีทั้งแนวตั้ง  และแนวนอน   



ที่มา :http://sirimajan.exteen.com/20120618/entry  

ประเภขของรายการสารคดี

ประเภทของสารคดี
ในการผลิตรายการสารคดีสั้น เนื้อหาและเทคนิคในการผลิตเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง บางเรื่องมีเนื้อหาสาระสลับซับซ้อน แต่บางเรื่องก็ไม่ยุ่งยากสามารถติดตามรับฟังได้ง่าย ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสารคดีนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สารคดีแบบเบาสมอง (Feature) สารคดีชนิดนี้ไม่ต้องการเนื้อหาละเอียดลึกซึ้งและหนักสมองนัก เสนอเพียงเรื่องราวกว้าง ๆ พอเข้าใจ ด้วยรูปแบบที่ค่อนข้างจะให้ความบันเทิง เช่น ละคร สนทนา บทความ เป็นต้น และเสียงประกอบก็อาจจะสร้างขึ้นเลียนแบบของจริงหรือใช้เสียงจริงได้ก็ยิ่งดี สารคดีชนิดนี้ ได้แก่ สารคดีทั่วไป สารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษ สารคดีท่องเที่ยว และสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
1.1 สารคดีทั่วไป (General Feature) สารคดีประเภทนี้มีเนื้อหาเปิดกว้าง ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเรื่องของมนุษย์ พืช สัตว์ สิ่งของ สุดแล้วแต่ผู้ผลิตรายการจะหยิบยกเรื่องใด ๆ ที่เห็นว่าอยู่ในความสนใจของประชาชน ให้ความรู้หรือให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้เกิดความประทับใจหรือจูงใจให้คล้อยตามเรื่องราวที่นำมาเสนอนั้นหรือให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามโอกาส เช่น สารคดีเรื่องบ้านจัดสรร จุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้จักเลือกซื้อบ้านจัดสรรให้เหมาะกับความเป็นอยู่โดยคุ้มค่าของเงิน ในสารคดีเรื่องนี้ก็อาจจะมีเนื้อหา ดังนี้
- ความเป็นมาของบ้านจัดสรรโดยทั่วไป
- กฎหมายที่เกี่ยวกับบ้านจัดสรร
- ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อบ้านจัดสรร
- วิธีการซื้อบ้านจัดสรร
ฯลฯ
โดยเมื่อผู้ฟังได้ฟังสารคดีเรื่องนี้จบก็จะเข้าใจเรื่องนี้และสามารถตัดสินใจได้ว่าควรซื้อหรือไม่ควรซื้อบ้านจัดสรรแห่งไหน อย่างไรหรือไม่
หรือสารคดีเรื่องเกษตรกรรมน้ำหยด โดยมีแกนของเรื่องเน้นที่การเพาะปลูกโดยใช้วิธีให้น้ำแบบน้ำหยดไปตามต้นต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและนำไปปฏิบัติบ้าง เนื้อหาก็จะต้องครอบคลุมถึงวิธีการเพาะปลูกและให้น้ำพืชโดยทั่วไป จนถึงประโยชน์ที่จะได้จากการให้น้ำแบบน้ำหยด
การผลิตรายการสารคดีประเภทสารคดีทั่วไปนี้ ผู้ผลิตก็จะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสาร จากบุคคล และบางคราวอาจจำเป็นต้องสร้างเสียงประกอบ หรือนำเสียงจริงมาประกอบเพื่อให้ดูสมจริง และจูงใจผู้ฟังได้คล้อยตามได้มากยิ่งขึ้น
1.2 สารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษ (Special Occasion Feature) สารคดีประเภทนี้สามารถผลิตได้ในทุกโอกาสที่เป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคคล ประเพณี วันสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ฟังเป็นสำคัญ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สามารถค้นได้ไม่ยากนัก เพราะส่วนใหญ่จะมีเป็นประจำปี เช่น สารคดีเรื่องวันต้นไม้แห่งชาติ เรื่องเทศกาลวิสาขบูชา เรื่องประเพณีรดน้ำดำหัว หรือสารคดีเรื่องวันเสียงปืนแตก เป็นต้น สารคดีประเภทนี้มุ่งที่จะปลูกฝังความสามัคคี ความซาบซึ้งในความเป็นชาติ หรือจูงใจให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามต่อไป และเนื้อหาที่นำมาประกอบกันเป็นสารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษเช่นนี้ก็จะต้องมีส่วนที่ชี้ทางให้ผู้ฟังได้เกิดแนวความคิดดังกล่าวด้วย เช่น สารคดีเรื่องวันสงกรานต์ เนื้อหาก็จะประกอบด้วย

- วันสงกรานต์คืออะไร
- พิธีการในวันสงกรานต์ในท้องถิ่นต่าง ๆ
- เราจะรักษาประเพณีวันสงกรานต์ไว้ได้อย่างไร
ฯลฯ
1.3 สารคดีท่องเที่ยว (Touring Feature) รายการที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนั้น จะสามารถมองเห็นได้เด่นชัด เพราะเนื้อหาจะเน้นในเรื่องราวการท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ประมวลประวัติความเป็นมาของสถานที่นั้น รวมถึงจุดที่น่าสนใจ วิธีเดินทาง ค่าใช้จ่าย ที่พักและสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เป็นการให้ข้อมูลทุกด้านแก่ผู้ฟัง ซึ่งอาจสนใจเดินทางไปเที่ยวได้ ผู้ผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวนี้จะต้องพยายามพรรณนาเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและเกิดภาพทัศน์อย่างแจ่มชัด เพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ดังกล่าวในโอกาสต่อไปด้วย เช่น สารคดีเรื่องไปเที่ยวเกาะเสม็ดกันเถอะ เรื่องเชียงใหม่เมืองสวรรค์ หรือเรื่องเขาค้อวันนี้ เป็นต้น
1.4 สารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Historical Feature) สารคดีประเภทนี้จะเล่าถึงเรื่องที่เกิดในอดีตว่าเกิดขึ้นอย่างไร เหตุการณ์เป็นอย่างไร อย่างคร่าว ๆ หรืออาจจะเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง เช่น เรื่องของนายขนมต้ม ซึ่งมีฝีมือในทางมวยไทยเป็นที่เลื่องลือ หรือเรื่องสะพานข้ามแม่น้ำแควอันเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น การนำเอาเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาจัดทำเป็นสารคดีสั้นเช่นนี้เท่ากับเป็นการทบทวนเหตุการณ์โดยใช้รูปแบบในการนำเสนอที่ไม่หนักสมอง และใช้เวลาในการนำเสนอไม่ยาวนัก ประมาณ 10-15 นาที
2. สารคดีแบบเข้มข้น (Documentary) สารคดีชนิดนี้มีเนื้อหาสาระในข้อเท็จจริงที่ละเอียดลึกซึ้งทุกแง่ทุกมุม แต่ละตอนจะใช้รูปแบบในการผลิตที่ค่อนข้างจริงจัง เพื่อให้สารคดีเรื่องนั้นน่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีสัมภาษณ์ บรรยาย รายงานนอกสถานที่ สนทนา และใช้เสียงประกอบจากเสียงจริงที่บันทึกไว้ ลักษณะของสารคดีชนิดนี้จะให้ความรู้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องเป็นรายการที่ค่อนข้างยาวประมาณ 30 นาที และจะต้องดึงดูดความสนใจของผู้ฟังด้วยเทคนิคการผลิตที่มีเสียงจริงประกอบให้มากที่สุด สารคดีชนิดนี้ได้แก่ สารคดีเชิงวิเคราะห์และสารคดีเชิงข่าว
2.1 สารคดีเชิงวิเคราะห์ (Investigative Documentary) สารคดีประเภทนี้จะมีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้งในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และในตอนท้ายของรายการ ผู้ผลิตรายการก็มักจะทิ้งเนื้อหาเรื่องราวที่อาจจะเป็นไปในอนาคตให้ผู้ฟังได้คิดต่อไป ตัวอย่างเช่น สารคดีเรื่องมลภาวะในประเทศไทย เนื้อหาที่จะนำเสนอก็จะครอบคลุมถึงลักษณะความเป็นอยู่ของคนในประเทศไทย อาชีพ ผลที่เกิดจากการประกอบอาชีพในแง่ของสภาวะต่าง ๆ อันตรายที่เกิดจากสภาวะนั้น แนวโน้มของมลภาวะในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า แนวทางแก้ไข เป็นต้น จุดประสงค์ของการผลิตสารคดีเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้ประชาชนสังวรในเรื่องของอันตรายจากมลภาวะ และร่วมกันแก้ไขดังนี้ เป็นต้น


ลักษณะของสารคดี


คำว่า สารคดี มาจากคำว่า สาระ + คดี สาระ แปลว่า ทั้งหมด ทั้งสิ้น คดี แปลว่า การดำเนินหรือเรื่อง ดังนั้น สารคดี จึงแปลว่า การดำเนินเรื่องทั้งหมดหรือการเสนอเรื่องราวโดยละเอียด
ลักษณะของสารคดี
รายการสารคดี เป็นรายการที่บรรยายหรือพรรณนาถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ หรืออาจจะเป็นการแจกแจงปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยมีความมุ่งหมายที่จะแจ้งข่าวสาร หลักฐาน ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนตามลำดับ หรือเพื่อจูงใจให้ผฟังมีความเห็นคล้อยตาม และตระหนักในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้เรื่องที่นำมาเสนอนั้น จะต้องเป็นเรื่องจริงหรือตั้งอยู่บนฐานของความจริง ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเอง ส่วนการนำเสนอนั้นก็จะใช้รูปแบบของรายการวิทยุหลาย ๆ รูปแบบ ผสมผสานกันให้พอเหมาะพอควรเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย แต่ให้ทั้งความบันเทิงและความรู้ที่ไม่หนักสมอง
จากคำจำกัดความดังกล่าวนั้น จึงพอสรุปได้ว่ารายการสารคดี จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ
1. ต้องเป็นเรื่องเดียวตลอดรายการ เช่น ถ้าจะผลิตสารคดีเรื่องน้ำ เนื้อหาทั้งหมดก็จะต้องเกี่ยวกับน้ำ โดยอาจจะเริ่มด้วยกำเนิดของน้ำ สภาพของน้ำดีน้ำเสีย ประโยชน์ของน้ำเป็นต้น สวนที่จะเน้นเนื้อหาส่วนใด ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการผลิต
2. เป็นข้อเท็จจริงทั้งหมด การเสนอสารคดีจะต้องค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบรายการ ให้มีเนื้อหาครอบคลุมทุกแง่ทุกมุม โดยเนื้อหาสาระเหล่านั้นจะต้องเป็นจริงทั้งหมดและสามารถอ้างอิงได้
3. เป็นการเล่าโดยละเอียดด้วยเทคนิคการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ กันใน 1 รายการ ดังนั้นในรายการหนึ่งก็อาจจะใช้รูปแบบของการบรรยาย การสัมภาษณ์ ละครสั้น สนทนา หรือแม้แต่เพลงและดนตรี มาผสมกันโดยเรียงลำดับเนื้อหาให้เหมาะกับรูปแบบต่าง ๆ นั้น โดยไม่ขัดหู เพื่อจูงใจผู้ฟังให้สนใจติดตามฟังตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อเสนอแนะว่าสำหรับรายการสารคดีนั้น ควรจะใช้เสียงจริงหรือเสียงที่ทำให้เกิดจินตภาพให้มากกว่าการบรรยาย จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามได้มาก