มิตรภาพ

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อสังเกตความแตกต่างของคำบาลีและสันสกฤต ในภาษาไทย

คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
  1. สระสันสกฤต ต่างจากบาลี 6 ตัว คำใดประสมด้วยสระ  ฤ  ฤา  ฦ  ฦๅ  ไอ  เอา  เป็นคำในภาษาสันสกฤต  
  2. คำใดประสมด้วย  ศ  ษ  มีในภาษาสันสกฤต  ไม่มีในภาษาบาลี  เช่น  อภิเษก  ศีรษะ  อวกาศ  ศัตรู  ศิลปะ ราษฎร  ศอก  ศึก  อังกฤษ  ศึกษาศาสตร์
  3. คำสันสกฤต ใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้  ฬ
  4. คำในภาษาสันสกฤตมีระบบเสียงควบกล้ำ หรือพยัญชนะประสม  คำควบกล้ำจึงมักเป็นคำภาษาสันสกฤต  เช่น  สตรี  ปรารถนา  สวัสดี  สมัคร  มาตรา อินทรา
  5. คำที่ไทยใช้  รร  มาจากสันสกฤต  ตัว ร ที่ควบกับคำอื่นและใช้เป็นตัวสะกด เช่น  มรรค สรรพ มารค (มารฺค สรฺว อารฺย จรฺยา)
  6. ฤ (ฤทธิ)  ในสันสกฤต   บาลีจะเป็น อิทฺธิ  (อิ อุ)
  7. คำที่ใช้  ห์  มักเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น   สังเคราะห์   โล่ห์  อุตส่าห์ เท่ห์ เล่ห์  เสน่ห์ (? บาลีก็มี เช่น โลห อุสฺสาห เทห สิเนห เสนฺห)
คำที่มาจากภาษาบาลี
  1. คำในภาษาบาลีไม่มีสระเหล่านี้  ฤ ฤา ฦ ฦๅ ไอ เอา  (สระบาลีมี 8 ตัว คือ อ  อา อิ  อี  อี  อุ  อู  เอ  โอ)
  2. คำที่มาจากภาษาบาลีใช้ ส ทั้งหมด (สันสกฤตมี ทั้ง ศ ษ ส)
  3. คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้ ฬ    ดังนั้นคำที่มี ฬ จึงเป็นคำภาษาบาลี  เช่น  กีฬา  กาฬ  โกวิฬาร  กักขฬะ ประวาฬ
  4. ภาษาบาลีไม่มีพยัญชนะประสมหรือควบกล้ำ (? บาลีใช้คำควบกล้ำน้อยกว่าสันสกฤต)
  5. บาลีใช้  ริ  เช่น  อริยะ -  จริยะ  (อริย จริยา)
  6. อิ อุ ในบาลี เช่น อิทธิ    สันสกฤต จะเป็น ฤ เช่น ฤทธิ์
ตัวอย่างคำที่มาจากสันสกฤต 
อังกฤษ  ศึก  ศอก  พฤกษ์  ประพฤติ  ศาสนา  เกษม  ดรรชนี  วิทยุ  ประจิม  ธรรมศาสตร์  เกษตร  ศิลปากร  วัชระ  สัตย์  มฤตยู    อินทร์  อัคนี  ภัสดา  มัธยม  ศึกษาศาสตร์  ศากยะ  กษัตริย์  พิสดาร  พฤษภ  ปราณี  สวรรค์  กรรม  ฤทธิ์  ศรี  รัศมี  อภิเษก  เกษียณ  หฤทัย  คฤหาสน์  วิทยา  เสนา  เลขา  เสวก  พิษ  มนุษย์  กรีฑา  ครุฑ  อิศวร  วิเศษ  วิศาล  วิเศษ  สวามี  เนตร สตรี  อยุธยา อาศรม อาศัย  ราษฎร ฤษี สัตว์  กระดาษ  ดาษดา  พิศ  เลิศ  บำราศ  ปราศ พฤศจิกายน  อัศจรรย์  โอษฐ์  กฤษณา  พัสดุ  เกษียร  อาญา
ตัวอย่างคำที่มาจากบาลี
สามัญ  วิชา  อิสิ  จริยา  ฐาปนา  สันติ  วัฒนา  บุญ  เวช  สิทธิ  จุฬา สิกขา  อัคคี  นิสิต  สงฆ์  ทุกข์  มัจฉา  รังสี  รัฐ  วิชา  โอฬาร  กิริยา  สมภาร    โมลี  วชิระ  ปฐม  เรขา  เสนา โอสถ  ปิตุ ปัจฉิม  วิชชา  ญาณ  ฐาน  วุฑฒิ  ถาวร  วิตถาร  ตัณหา  ญาติ  สิกขา  มัชฌิมา  นิพพาน  กีฬา  จุฬา  สามี ปฏิเสธ  สาวก สามัญ  ขณะ อุตุ  นิจ สัจจ มัจฉา


ที่มา : http://www.palidict.com

คำภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย

คำภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งในสมัย  ปัจจุบันทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง  คือพบตั้งแต่ในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีไม่มากนัก แต่ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า  ในสมัยสุโขทัยนั้นไทยได้นำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยของเราแล้ว   และในสมัยต่อมาก็ปรากฏว่านิยมใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตในการแต่งวรรณคดีมากขึ้น
วิสัณติ์ กฏแก้ว (2529 : 2) ได้กล่าวถึงเหตุที่ทำให้คำบาลีและสันสกฤตเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาใช้ในทางวรรณคดี   พอจะสรุปได้ดังนี้
  1. วรรณคดีไทยเป็นวรรณกรรมที่ถือเอาเสียงไพเราะเป็นสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง  นอกจากจะถือเอาความไพเราะของเสียงเป็นสำคัญแล้ว ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทฉันท์ จะต้องถือคำ ครุ ลหุ เป็นสำคัญอีกด้วย  คำที่เป็นเสียงลหุในภาษาไทยมีน้อยมาก  จึงจำเป็นจะต้องใช้ศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต  เพราะสามารถเลือกคำลหุ ครุ ได้มาก และสามารถดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของเราได้ดี
ตัวอย่าง
ข้าขอเทิดทศนัขประณามคุณพระศรี   สรรเพชญพระผู้มีพระภาค
อีกธรรมาภิสมัยพระไตรปิฏกวากย์ ทรงคุณคะนึงมาก  ประมาณ
                   (สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 – อิลราชคำฉันท์)
  1. คนไทยถือว่าคำบาลีและสันสกฤตเป็นคำสูง เพราะเป็นคำที่ใช้เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า และผู้ที่ใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะควรแก่การเคารพบูชาทั่วไป เช่น พระสงฆ์ พราหมณ์ เป็นต้น ดังนั้นการแต่งฉันท์ที่ถือกันว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้คำบาลีและสันสกฤต
  2. วรรณคดีไทยโดยมากมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งจะต้องใช้คำราชาศัพท์   การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นคำราชาศัพท์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเช่น พระเนตร พระพักตร์ พระกรรณ เป็นต้น
  3. การใช้คำภาษาบาลีและสันสกฤตแต่งฉันท์ เป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ของผู้แต่งว่ามีความรู้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นอย่างดี มีคนเคารพนับถือและยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์”
ที่มา: learners.in.th

ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

ประวัติภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต จัดอยู่ภาษาอินเดีย-ยุโรป ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย  พวกอารยันได้เข้ามาในอินเดีย เมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตศักราช (ปรีชา ทิชินพงศ์, 2534 : 1) นักปราชญ์ทางภาษาได้แบ่งภาษาตระกูลอารยันในอินเดียออกเป็น 3 สมัย ดังนี้
  1. ภาษาสมัยเก่า หมายถึงภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระเวท ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท รวมตลอดทั้งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายของคัมภีร์พระเวท (เวทานต์)   ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้จะมีความเก่าแก่ลดหลั่นกันมาตามลำดับ ภาษาสันสกฤตก็จัดอยู่ในสมัยนี้ด้วย
  2. ภาษาสมัยกลาง ได้แก่ ภาษาปรากฤตซึ่งเป็นภาษาถิ่นของชาวอารยันที่ใช้กันท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศอินเดีย เช่นภาษามาคธี มหาราษฏรี เศารเสนี เป็นต้น   ภาษาในสมัยนี้มีลักษณะโครงสร้างทางเสียง และนอกจากจะเรียกว่าภาษาปรากฤตแล้วยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ภาษาการละคร” เพราะเหตุที่นำไปใช้เป็นภาษาพูดของตัวละครบางตัวในบทละครสันสกฤตด้วย
  3. ภาษาสมัยใหม่  ได้แก่ ภาษาต่างๆในปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี เบงกาลี ปัญจาบี มราฐี เนปาลี เป็นต้น   ภาษาเหล่านี้แม้จะเข้าใจกันว่าสืบมาจากภาษาปรากฤต  แต่มีลักษณะของภาษาผิดกันมาก  เพราะมีภาษาตระกูลอื่นที่ไม่ได้สืบมาจากภาษาของชาวอารยันเข้าไปปะปนกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ภาษาสันสกฤต
ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาในคัมภีร์พระเวทของชาวอารยัน  ถือเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนชั้นสูง   แต่เดิมนั้นไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์เคร่งครัดนัก   ต่อมาเมื่อระยะเวลาล่วงไปนานๆ  ประกอบกับภาษาในคัมภีร์พระเวทนี้มีภาษาพื้นเมืองปะปนอยู่มาก   เป็นเหตุให้หลักเกณฑ์ต่างๆ ของภาษานี้คลาดเคลื่อนไปมาก  จนกระทั่งได้มีนักปราชญ์ของอินเดียคนหนึ่งชื่อ “ปาณินิ” ได้ศึกษาคัมภีร์พระเวททั้งหลาย  แล้วนำมาแจกแจงวางหลักเกณฑ์ให้เป็นระเบียบและรัดกุม แต่งเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้นเรียกชื่อว่า “อัษฎาธยายี”  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่แต่งได้ดีที่สุดและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก   และต่อมาได้มีผู้เรียกภาษาที่ปาณินิได้จัดระเบียบของภาษาไว้เป็นอย่างดีและสมบูรณ์ที่สุดนี้ว่า “สันสกฤต”  ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ได้จัดระเบียบและขัดเกลาเรียบร้อยดีแล้ว”   แต่กฎเกณฑ์ที่ปาณินิได้วางไว้นี้กลับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตไม่มีวิวัฒนาการเหมือนภาษาอื่นๆ  เพราะนอกจากภาษาสันสกฤตจะถือว่าเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในหมู่ของนักปราชญ์ โดยเฉพาะกษัตริย์และพราหมณ์ที่เป็นบุรุษเพศ   กฎเกณฑ์และรายละเอียดปลีกย่อยยังทำให้ไม่เอื้อต่อการใช้  จึงทำให้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาตายในที่สุด
ภาษาบาลี
ภาษาบาลี เป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาพระเวท   ภาษาบาลี คือ ภาษาที่ชาวมคธใช้พูดกันในแคว้นมคธ เรียกว่า “ภาษามาคธี” พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษานี้ประกาศพระศาสนาของพระองค์   ภาษามาคธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (เจิม ชุมเกตุ, 2525:3)
  1. สุทธมาคธี เป็นภาษาของชนชั้นสูง คือภาษาของกษัตริย์หรือภาษาทางราชการ
  2. เทสิยา หรือ ปรากฤต ได้แก่ ภาษาประจำถิ่น
พระพุทธเจ้าทรงใช้สุทธมาคธีเป็นหลักในการประกาศคำสั่งสอนของพระองค์  และในสมัยนั้นทรงเผยแผ่พระธรรมด้วยวิธีมุขปาฐะ  โดยมิได้มีบันทึกหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร   ภาษาบาลีนี้นำมาใช้บันทึกพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3   ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช  ถือเป็นภาษาประจำพุทธศาสนานิกายหินยาน [เถรวาท]   ส่วนศาสนานิกายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกพุทธวจนะ (สุภาพร มากแจ้ง, 2535 : 4)   และต่อก็ใช้ภาษาบาลีจารึกพระธรรมลงในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราหลักทางพระพุทธศาสนา    อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับภาษาสันสกฤต  คือใช้เป็นภาษาเขียนในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาเท่านั้น   ไม่ได้ใช้พูดหรือใช้เขียนในชีวิตประจำวัน  จึงไม่มีการเจริญเติบโต ไม่มีวิวัฒนาการเหมือนกับภาษาอื่นๆ  และกลายเป็นภาษาตายในที่สุด
เหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปะปนในภาษาไทย
เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในสู่ประเทศไทย  และคนไทยได้ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ   คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาบาลีและสันสกฤต  เพราะคำสอนทางศาสนาเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต (สันสกฤต : มหายาน)    ดังนั้นจึงได้เกิดคำภาษาบาลีและสันสกฤตใช้ในภาษาไทยมากขึ้น (วิสันติ์ กฎแก้ว, 2529 : 1)   นอกจากการรับนับถือศาสนาพุทธแล้ว   ไทยยังได้รับเอาความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ  รวมทั้งวรรณคดีบาลีและสันสกฤตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  ซึ่งเป็นส่วนทำให้เรารับคำภาษาบาลีและสันสกฤตซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เข้ามาใช้ในภาษาไทย
สุธิวงศ์ พงษ์บูลย์ (2523 : 5) ได้กล่าวถึงเหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยว่า  เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ   สรุปได้ดังนี้
  1. ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา  เมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย   ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต และศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ในการเผยแผ่ศาสนา   ไทยได้รับศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และรับคติของศาสนาพราหมณ์มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  โดยเฉพาะในลัทธิธรรมเนียมประเพณีต่างๆ  เราจึงรับคำในลัทธิทั้งสองเข้ามาใช้ในลักษณะของศัพท์ทางศาสนา และใช้เป็นศัพท์สามัญทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  2. ความสัมพันธ์ทางด้านประเพณี  เมื่อชนชาติอินเดียได้เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย  ก็นำเอาประเพณีของตนเข้ามาปฏิบัติ ทำให้มีคำที่เนื่องด้วยประเพณีเข้ามาปะปนในภาษาไทย  และนานเข้าก็ได้กลายเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย เช่น  ตรียัมปวาย มาฆบูชา  ตักบาตรเทโว  ดิถี กระยาสารท เทศน์มหาชาติ กฐิน จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฉัตรมงคล พืชมงคล เป็นต้น
  3. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม   อินเดียเป็นประเทศที่เจริญทางด้านวัฒนธรรมมานาน  อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของอินเดียมีต่อนานาประเทศทางภาคพื้นตะวันออกก่อนที่วัฒนธรรมตะวันตกจะเข้ามา  ไทยได้รับอิทธิพลของอินเดียทุกสาขา เช่น
    1. ศิลปะ   ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  เช่น ทางดนตรีและนาฏศิลป์   ภาษาที่ใช้เนื่องด้วยเป็นศิลปะจึงเข้ามาปะปนในภาษาไทย เช่น มโหรี ดนตรี ปี่พาทย์
    2. ดาราศาสตร์  อินเดียมีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์มาช้านานจนมีตำราเรียนกัน  เมื่อวิชานี้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย  ทำให้คำต่างๆที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น สุริยคติ จันทรคติ จันทรคราส
    3. การแต่งกาย  ศัพท์ทางด้านวัฒนธรรมการแต่งกายที่ได้รับมาส่วนใหญ่เป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เช่น มงกุฎ ชฎา สังวาล
    4. สิ่งก่อสร้าง   คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นศัพท์ที่เรียกชื่อสิ่งก่อสร้างทางศาสนาและราชวัง เช่น นภศูล ปราสาท เจดีย์
    5. เครื่องมือเครื่องใช้  เครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาวอินเดียนำเข้ามาในประเทศไทย  ทำให้เราได้รับคำที่เรียกเครื่องมือเครื่องใช้นั้นๆเข้ามาใช้ด้วย เช่น อาวุธ ทัพพี คนโท
    6. การใช้ราชาศัพท์   การใช้ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย  ที่ต้องการแยกศัพท์ของคนสามัญชนออกจากศัพท์ที่ใช้กับพระราชาและเชื้อพระวงศ์  เป็นเหตุให้เรารับคำบาลีและสันสกฤต  ซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่สูงเข้ามาใช้ เช่น พระเนตร พระบาท พระกรรณ บางคำก็รับเข้ามาเป็นคำสุภาพ เช่น บิดา มารดา ฯลฯ
  1. ความสัมพันธ์ทางด้านวิชาการ   เนื่องจากวิทยาศาสตร์และวิทยาการเจริญกว้างขวางขึ้น ทำให้คำที่เราใช้อยู่เดิมแคบเข้า  จึงจำเป็นต้องรับคำบาลี สันสกฤต เข้ามาใช้ เพื่อความเจริญและความสะดวก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แพทย์ เภสัช ฯลฯ
  1. ความสัมพันธ์ทางด้านวรรณคดี   วรรณคดีอินเดียมีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งวรรณคดีสันสกฤต และวรรณคดีที่เนื่องมาจากชาดกในพระพุทธศาสนา  เมื่อเรารับเอาวรรณคดีเหล่านี้เข้ามา  จึงมีศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวกับวรรณคดีเหล่านี้เข้ามามากมาย เช่น ครุฑ สุเมรู หิมพานต์ ฯลฯ
ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย  คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ  เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ  เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลิงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก   โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค  ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
  1. หน่วยเสียงสระ
    หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง  คือ  อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ
    หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ   ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
    หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง  ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ
    ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสองภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ  พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี  
  1. สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
    ตัวสะกด คือ  พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์ (ก = ตัวสะกด)
ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น   คำในภาษาบาลี จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้  
แถวที่12345
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรคย ร ล ว ส ห ฬ อํ

มีหลักสังเกตตัวสะกดดังนี้
  1. พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
  2. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ  ปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น
  3. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น  อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คัพภ (ครรภ์)
ง. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น
จ. พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ “ฬ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ อาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น
3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น
บาลีไทย บาลีไทย
รัฎฐรัฐ อัฎฐิอัฐิ
ทิฎฐิทิฐิ วัฑฒนะวัฒนะ
ปุญญบุญ วิชชาวิชา
สัตตสัต เวชชเวช
กิจจกิจ เขตตเขต
นิสสิตนิสิต นิสสัยนิสัย

ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์ กิจจะลักษณะ เป็นต้น
วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้
  1. พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัว คือ ศ, ษ
    ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น   ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ
  2. ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน   ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้ ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น
  3. สังเกตจากสระ   สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
    ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา
    ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น
  4. สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น จักร อัคร บุตร สตรี ศาสตร์ อาทิตย์ จันทร์ เป็นต้น
  5. สังเกตจากคำที่มีคำว่า “เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น
  6. สังเกตจากคำที่มี “ฑ” อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
  7. สังเกตจากคำที่มี “รร” อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน  ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้
1. ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน  เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกัน เรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต  เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า  เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
กมฺมกรฺมกรรม
จกฺกจกฺรจักร

2. ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
ครุฬครุฑครุฑ
โสตฺถิสฺวสฺติสวัสดี

3. คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก  ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
ขนฺติกฺษานฺติขันติ
ปจฺจยปฺรตฺยปัจจัย

4. รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อย แต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น
บาลีสันสกฤตไทย
กณฺหากฺฤษฺณากัณหา, กฤษณา
ขตฺติยกฺษตฺริยขัตติยะ, กษัตริย์

5. คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป   แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น
บาลีสันสกฤตไทยความหมาย
กิริยากฺริยากิริยาอาการของคน
  กริยาชนิดของคำ
โทสเทฺวษโทสะความโกรธ
  เทวษความเศร้าโศก




ที่มา : http://www.palidict.com/

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การเขียนสารคดี

สารคดีเป็นงานเขียนที่มีมานานแล้วใน ประเทศไทย  แต่นิยมเขียนไว้ในรูปของ  พงศาวดาร  ตำนาน  ตำรา  หนังสือสอนศาสนา  จดหมายเหตุ  ประกาศของทางราชการ ฯลฯ  การเขียนสารคดีของไทยเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทั้งนี้เพราะได้มีการติดต่อกับประเทศทางตะวันตก 
๑.     ความหมายของสารคดี       
                 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช  ๒๕๔๒ อธิบายความหมายของสารคดีว่า  หมายถึง  “ เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง  มิใช่เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ“ 
งานเขียนสารคดีจึงเป็นข้อเขียนที่ ผู้เขียนต้องการจะให้สาระ ความรู้ ความคิด  โดยไม่ใช้จินตนาการและอารมณ์ผสมผสานลงไป  แต่จะต้องใช้ภาษาสำนวนที่มีศิลปะ  คมคาย  เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

                 ด้วยเหตุที่  สารคดีเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความเป็นจริง  ทำให้เนื้อหาของสารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ   ได้แก่  บุคคล  ภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  วิทยาศาสตร์  การเดินทางท่องเที่ยว การอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  แนะนำกิจกรรมต่าง ๆ  สถานสำคัญ
ในแต่ละท้องถิ่น
        
๒.    ประเภทของสารคดี                  
         สารคดีแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้          
                  ๒.๑  สารคดีบุคคล  เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตที่น่าสนใจของบุคคลทั่วไปใน
แง่มุมต่าง  ๆ

                 ๒.๒  สารคดีโอกาสพิเศษ  เป็นเรื่องที่เขียนตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ของ
แต่ละชาติ เช่น 
วันสุนทรภู่  วันวิสาขบูชา                
                 ๒.๓  สารคดีประวัติศาสตร์  เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่นำมาเขียนขึ้น
เพื่อย้ำเตือนจิตสำนึกของอนุชนรุ่นหลัง  หรือให้เห็นความสำคัญ  เช่น  สงครามยุทธหัตถี 
การสร้างกรุงเทพมหานคร
                
                 ๒.๔  สารคดีท่องเที่ยว  เป็นการนำเรื่องราวที่พบเห็นจากการท่องเที่ยวมาเขียนถึงในแง่มุมต่าง ๆ ตามทัศนะของตน
                
                ๒.๕  สารคดีแนะนำวิธีทำ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงขั้นตอนการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นการทำอาหาร  การผลิตธนบัตร
                
               ๒.๖  สารคดีเด็ก  เขียนถึงเรื่องราวของเด็กในแง่มุมต่างๆ เช่น การเลี้ยงดู
การใช้แรงงานเด็ก              
               ๒.๗  สารคดีสตรี  เขียนถึงสตรีในแง่มุมต่าง ๆ
                
               ๒.๘  สารคดีเกี่ยวกับสัตว์  เขียนถึงสัตว์ในแง่ของการให้ความรู้ที่เป็นสาระ
                
               ๒.๙  สารคดีความทรงจำ  เป็นเรื่องราวของความทรงจำในอดีตที่เล่าให้ผู้อื่นเขียน  หรือเขียนเอง  เช่น  การละเล่นสมัยก่อน  การอพยพหนีสงคราม
                
              ๒.๑๐  สารคดีจดหมายเหตุ  เป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์  
๓.     หลักการเขียนสารคดี
         การเขียนสารคดีมีหลักในการเขียน  ดังนี้
                   ๓.๑   การเลือกเรื่อง   เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี  จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ  หรือทันสมัย  หากเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป  หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต  ก็ควรนำเสนอให้น่าสนใจด้วยมุมมองที่แปลกใหม่  มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  และมุ่งนำเสนอข้อเขียนที่เป็น
ความรู้  ความคิดจากเรื่องจริง  เหตุการณ์จริง  และจะต้องเขียนให้อ่านเพลิดเพลิน  มีอรรถรส

                  ๓.๒   การตั้งชื่อเรื่อง  ควรตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ  สะดุดหู  สะดุดตา  ควรเป็นชื่อที่เข้ายุคเข้าสมัยในปัจจุบัน  ควรหาคำที่มีความหมายกว้าง ๆ  เพื่อให้
ครอบคลุมเนื้อหา  แต่ชื่อเรื่องต้องตรงกับเนื้อหาด้วย  แนวทางการตั้งชื่อเรื่อง

                          -  แบบชี้นำเนื้อหา  โดยการนำความสำคัญของเนื้อหามาสรุปเป็นความคิดรวบยอดเช่น  ครูไทย...ภารกิจที่ไม่มีวันเสร็จสิ้น,  ยาบ้ามหาภัย
                          -  แบบสำบัดสำนวน  นำสำนวนแปลก ๆมาใช้ เช่น  แสนแสบแสบสยิว  สยึ๋มกึ๋ย                         
                          -  แบบคนคุ้นเคย  เหมือนผู้เขียนคุ้นเคยกับผู้อ่าน  เช่น  มาช่วยกันป้องกันเหตุร้ายกันเถอะ  การอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านจัดสรร
                         
                          -  แบบคำถาม  เช่น  จริงหรือที่เขาว่าหัวหินสิ้นมนต์ขลัง
                      
                          -  แบบชวนฉงน  เช่น  ตายแล้วฟื้น,   ตายแล้วไป....                      
                  ๓.๓  กำหนดจุดมุ่งหมายและแนวคิดสำคัญ    การกำหนดจุดมุ่งหมายอาจตั้งคำถามว่าต้องการเขียนให้ใครอ่าน ต้องการให้ผู้อ่านคิด/ ทำอย่างไร  ผู้เขียนต้องกำหนดแนวคิดให้ชัดเจนว่า  สารคดีเรื่องนี้ต้องการจะเสนอแนวคิดสำคัญอะไร  มีแก่นเรื่องอะไรนำเสนอแก่ผู้อ่าน  เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาถ่ายทอดถ้อยคำหรือประโยคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น
                  ๓.๔  การหาข้อมูล  แหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการเขียนสารคดี  ได้แก่  หนังสือ  สารานุกรม  นิตยสาร  วารสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต  การสัมภาษณ์  การสนทนา  และการเก็บข้อมูลภาคสนาม  เป็นต้น
                   ๓.๕  การวางโครงเรื่อง  ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องก่อนเขียน  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน  ว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ  แยกเป็นกี่ประเด็น  ประเด็นใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง 
ใน ประเด็นหลักมีประเด็นย่อย ๆ  มีตัวอย่าง  มีเหตุผล  เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง  การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้โดยง่าย  ไม่สับสน  วกวน  นอกเรื่อง  ทำให้เรื่องมีเอกภาพ  มีลำดับต่อเนื่องกัน  และได้เนื้อความครบถ้วน

                  ๓.๖  การลงมือเขียน  สารคดีมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับความเรียงทั่วไป  คือ
                          -  ความนำ / การเปิดเรื่อง                                   
                          -  เนื้อเรื่อง / การดำเนินเรื่อง
                         
                          -  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง

                          ๓.๖.๑   ความนำ / การเปิดเรื่อง  เป็นการเปิดเรื่องบอกกล่าวให้ผู้อ่าน
รู้ก่อนว่าจะเขียนอะไร  เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ  การขึ้นความนำอาจทำได้หลายประการ  เช่น

 -  แบบสรุปเนื้อหาให้ผู้อ่านรู้ว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  ทำไม  
-  ขึ้นต้นจากชื่อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อหาหลัก 
-  เรื่องในสังคมที่คนกำลังสนใจ                                     
-  คำพูดของบุคคลสำคัญ 
-  เล่าเรื่องลักษณะคล้ายนิทานแล้วโยงเข้าหาเนื้อเรื่อง 
-  เหตูการณ์สำคัญในเรื่อง                                 
-  ยกสุภาษิต  คำพังเพย  กวี  นิพนธ์  คำคม
-  ใช้ประโยคสำคัญ  ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมากล่าว
-  ใช้คำถาม                                                      
-  ยกเหตุการณ์เปรียบเทียบ
-  พรรณนา                                                      
-  ย้อนอดีต  โยงเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบัน
                          ๓.๖.๒   เนื้อเรื่อง  / การดำเนินเรื่อง   กลวิธีการดำเนินเรื่องของสารคดีอาจเป็นการ เล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้เขียน  หรือมีการแทรกบทสนทนา  หรือบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนต้องสอดแทรกความคิดเห็นของตนในเนื้อเรื่องด้วย  เนื้อเรื่องต้องมีส่วนที่เป็นใจความหลัก และส่วนขยายความให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น  เช่น  การเสนอข้อมูลแสดงสถิติ  แสดงการเปรียบเทียบ  ตัวอย่างประกอบ  แต่อย่าให้มากเกินไป
                       ๓.๖.๓  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง  เป็นส่วนทำให้ผู้อ่านประทับใจ  ควรเขียนให้กะทัดรัดจับใจผู้อ่าน  โดยการสรุปข้อมูล  ข้อคิด แสดงข้อคิดเห็น  คำแนะนำ  วิธีแก้ปัญหาของผู้เขียน  อย่างสร้างสรรค์  โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือ  สรุปให้เกิดความตระหนัก
               ๓.๗  การใช้ภาษา  ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เพราะจะทำ ให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  หากเป็นการใช้ศัพท์เฉพาะหรือภาถิ่นควรอธิบายความหมายไว้ด้วย  นอกจากนี้ควรใช้โวหาร  สำนวน  ภาพพจน์  ตลอดจนระดับภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง 
จะเขียนแบบพรรณนา  บรรยาย  อธิบาย  หรือ โน้มน้าว ก็ได้       

                 ๓.๘  ความยาวของสารคดี  ไม่ควรมีความยาวมากเกินไป  เพราะสารคดีมีลักษณะเป็นบทเป็นตอน  ไม่ใช่ตำราหรือหนังสืออ้างอิง  จึงควรมีความยาวในการอ่านประมาณ  ๑๕  นาที
                  ๓.๙  การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว  แต่ละคนมีลักษณะและลีลาการเขียนที่แตกต่างกัน  จะเลือกแบบใดก็ได้  แต่อย่าลืมว่าผู้เขียนได้ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีมาก่อน  แล้วจึงเลือกหาแนวถนัดของตนเองโดยไม่เลียนแบบผู้อื่น
                  ๓.๑๐  ทบทวนและปรับปรุง  เมื่อจบเรื่องควรทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่  จากนั้นอ่านตรวจทานอีกครั้ง  หรือถ้าได้เก็บเรื่องที่เขียนไว้สัก 
๒ – ๓  วัน 
แล้วนำกลับมาอ่านตรวจอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะยิ่งดี     
 ๔.     ภาพประกอบสารคดี
มีคำเปรียบเปรยไว้ว่า   ภาพดี ๆ เพียง ๑ ภาพ  แทนคำบรรยายได้นับ  ๑,๐๐๐ คำ  สารคดี

จึงต้องมีภาพประกอบ  เพื่อให้งานเขียนสมบูรณ์  น่าเชื่อถือ  เรียกร้องความสนใจจากผู้ อ่าน  ภาพประกอบสารคดีควรมีลักษณะ  ดังนี้  มีความคมชัด  เสริมให้เนื้อหาเด่น  ภาพกับเนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกัน  เป็นภาพถ่ายจากแหล่งข้อมูลโดยตรง  มีมุมถ่ายหลายมุม  ถ้าใช้ภาพเขียนต้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  มีคำบรรยายภาพที่ถูกต้อง  ชัดเจน  ภาพถ่ายมีทั้งแนวตั้ง  และแนวนอน   



ที่มา :http://sirimajan.exteen.com/20120618/entry  

ประเภขของรายการสารคดี

ประเภทของสารคดี
ในการผลิตรายการสารคดีสั้น เนื้อหาและเทคนิคในการผลิตเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง บางเรื่องมีเนื้อหาสาระสลับซับซ้อน แต่บางเรื่องก็ไม่ยุ่งยากสามารถติดตามรับฟังได้ง่าย ๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสารคดีนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สารคดีแบบเบาสมอง (Feature) สารคดีชนิดนี้ไม่ต้องการเนื้อหาละเอียดลึกซึ้งและหนักสมองนัก เสนอเพียงเรื่องราวกว้าง ๆ พอเข้าใจ ด้วยรูปแบบที่ค่อนข้างจะให้ความบันเทิง เช่น ละคร สนทนา บทความ เป็นต้น และเสียงประกอบก็อาจจะสร้างขึ้นเลียนแบบของจริงหรือใช้เสียงจริงได้ก็ยิ่งดี สารคดีชนิดนี้ ได้แก่ สารคดีทั่วไป สารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษ สารคดีท่องเที่ยว และสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
1.1 สารคดีทั่วไป (General Feature) สารคดีประเภทนี้มีเนื้อหาเปิดกว้าง ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเรื่องของมนุษย์ พืช สัตว์ สิ่งของ สุดแล้วแต่ผู้ผลิตรายการจะหยิบยกเรื่องใด ๆ ที่เห็นว่าอยู่ในความสนใจของประชาชน ให้ความรู้หรือให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้เกิดความประทับใจหรือจูงใจให้คล้อยตามเรื่องราวที่นำมาเสนอนั้นหรือให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามโอกาส เช่น สารคดีเรื่องบ้านจัดสรร จุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้จักเลือกซื้อบ้านจัดสรรให้เหมาะกับความเป็นอยู่โดยคุ้มค่าของเงิน ในสารคดีเรื่องนี้ก็อาจจะมีเนื้อหา ดังนี้
- ความเป็นมาของบ้านจัดสรรโดยทั่วไป
- กฎหมายที่เกี่ยวกับบ้านจัดสรร
- ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อบ้านจัดสรร
- วิธีการซื้อบ้านจัดสรร
ฯลฯ
โดยเมื่อผู้ฟังได้ฟังสารคดีเรื่องนี้จบก็จะเข้าใจเรื่องนี้และสามารถตัดสินใจได้ว่าควรซื้อหรือไม่ควรซื้อบ้านจัดสรรแห่งไหน อย่างไรหรือไม่
หรือสารคดีเรื่องเกษตรกรรมน้ำหยด โดยมีแกนของเรื่องเน้นที่การเพาะปลูกโดยใช้วิธีให้น้ำแบบน้ำหยดไปตามต้นต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและนำไปปฏิบัติบ้าง เนื้อหาก็จะต้องครอบคลุมถึงวิธีการเพาะปลูกและให้น้ำพืชโดยทั่วไป จนถึงประโยชน์ที่จะได้จากการให้น้ำแบบน้ำหยด
การผลิตรายการสารคดีประเภทสารคดีทั่วไปนี้ ผู้ผลิตก็จะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสาร จากบุคคล และบางคราวอาจจำเป็นต้องสร้างเสียงประกอบ หรือนำเสียงจริงมาประกอบเพื่อให้ดูสมจริง และจูงใจผู้ฟังได้คล้อยตามได้มากยิ่งขึ้น
1.2 สารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษ (Special Occasion Feature) สารคดีประเภทนี้สามารถผลิตได้ในทุกโอกาสที่เป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคคล ประเพณี วันสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ฟังเป็นสำคัญ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สามารถค้นได้ไม่ยากนัก เพราะส่วนใหญ่จะมีเป็นประจำปี เช่น สารคดีเรื่องวันต้นไม้แห่งชาติ เรื่องเทศกาลวิสาขบูชา เรื่องประเพณีรดน้ำดำหัว หรือสารคดีเรื่องวันเสียงปืนแตก เป็นต้น สารคดีประเภทนี้มุ่งที่จะปลูกฝังความสามัคคี ความซาบซึ้งในความเป็นชาติ หรือจูงใจให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามต่อไป และเนื้อหาที่นำมาประกอบกันเป็นสารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษเช่นนี้ก็จะต้องมีส่วนที่ชี้ทางให้ผู้ฟังได้เกิดแนวความคิดดังกล่าวด้วย เช่น สารคดีเรื่องวันสงกรานต์ เนื้อหาก็จะประกอบด้วย

- วันสงกรานต์คืออะไร
- พิธีการในวันสงกรานต์ในท้องถิ่นต่าง ๆ
- เราจะรักษาประเพณีวันสงกรานต์ไว้ได้อย่างไร
ฯลฯ
1.3 สารคดีท่องเที่ยว (Touring Feature) รายการที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนั้น จะสามารถมองเห็นได้เด่นชัด เพราะเนื้อหาจะเน้นในเรื่องราวการท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ประมวลประวัติความเป็นมาของสถานที่นั้น รวมถึงจุดที่น่าสนใจ วิธีเดินทาง ค่าใช้จ่าย ที่พักและสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เป็นการให้ข้อมูลทุกด้านแก่ผู้ฟัง ซึ่งอาจสนใจเดินทางไปเที่ยวได้ ผู้ผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวนี้จะต้องพยายามพรรณนาเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและเกิดภาพทัศน์อย่างแจ่มชัด เพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ดังกล่าวในโอกาสต่อไปด้วย เช่น สารคดีเรื่องไปเที่ยวเกาะเสม็ดกันเถอะ เรื่องเชียงใหม่เมืองสวรรค์ หรือเรื่องเขาค้อวันนี้ เป็นต้น
1.4 สารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Historical Feature) สารคดีประเภทนี้จะเล่าถึงเรื่องที่เกิดในอดีตว่าเกิดขึ้นอย่างไร เหตุการณ์เป็นอย่างไร อย่างคร่าว ๆ หรืออาจจะเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง เช่น เรื่องของนายขนมต้ม ซึ่งมีฝีมือในทางมวยไทยเป็นที่เลื่องลือ หรือเรื่องสะพานข้ามแม่น้ำแควอันเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น การนำเอาเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาจัดทำเป็นสารคดีสั้นเช่นนี้เท่ากับเป็นการทบทวนเหตุการณ์โดยใช้รูปแบบในการนำเสนอที่ไม่หนักสมอง และใช้เวลาในการนำเสนอไม่ยาวนัก ประมาณ 10-15 นาที
2. สารคดีแบบเข้มข้น (Documentary) สารคดีชนิดนี้มีเนื้อหาสาระในข้อเท็จจริงที่ละเอียดลึกซึ้งทุกแง่ทุกมุม แต่ละตอนจะใช้รูปแบบในการผลิตที่ค่อนข้างจริงจัง เพื่อให้สารคดีเรื่องนั้นน่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีสัมภาษณ์ บรรยาย รายงานนอกสถานที่ สนทนา และใช้เสียงประกอบจากเสียงจริงที่บันทึกไว้ ลักษณะของสารคดีชนิดนี้จะให้ความรู้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องเป็นรายการที่ค่อนข้างยาวประมาณ 30 นาที และจะต้องดึงดูดความสนใจของผู้ฟังด้วยเทคนิคการผลิตที่มีเสียงจริงประกอบให้มากที่สุด สารคดีชนิดนี้ได้แก่ สารคดีเชิงวิเคราะห์และสารคดีเชิงข่าว
2.1 สารคดีเชิงวิเคราะห์ (Investigative Documentary) สารคดีประเภทนี้จะมีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้งในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และในตอนท้ายของรายการ ผู้ผลิตรายการก็มักจะทิ้งเนื้อหาเรื่องราวที่อาจจะเป็นไปในอนาคตให้ผู้ฟังได้คิดต่อไป ตัวอย่างเช่น สารคดีเรื่องมลภาวะในประเทศไทย เนื้อหาที่จะนำเสนอก็จะครอบคลุมถึงลักษณะความเป็นอยู่ของคนในประเทศไทย อาชีพ ผลที่เกิดจากการประกอบอาชีพในแง่ของสภาวะต่าง ๆ อันตรายที่เกิดจากสภาวะนั้น แนวโน้มของมลภาวะในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า แนวทางแก้ไข เป็นต้น จุดประสงค์ของการผลิตสารคดีเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้ประชาชนสังวรในเรื่องของอันตรายจากมลภาวะ และร่วมกันแก้ไขดังนี้ เป็นต้น


ลักษณะของสารคดี


คำว่า สารคดี มาจากคำว่า สาระ + คดี สาระ แปลว่า ทั้งหมด ทั้งสิ้น คดี แปลว่า การดำเนินหรือเรื่อง ดังนั้น สารคดี จึงแปลว่า การดำเนินเรื่องทั้งหมดหรือการเสนอเรื่องราวโดยละเอียด
ลักษณะของสารคดี
รายการสารคดี เป็นรายการที่บรรยายหรือพรรณนาถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ หรืออาจจะเป็นการแจกแจงปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยมีความมุ่งหมายที่จะแจ้งข่าวสาร หลักฐาน ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนตามลำดับ หรือเพื่อจูงใจให้ผฟังมีความเห็นคล้อยตาม และตระหนักในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้เรื่องที่นำมาเสนอนั้น จะต้องเป็นเรื่องจริงหรือตั้งอยู่บนฐานของความจริง ไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเอง ส่วนการนำเสนอนั้นก็จะใช้รูปแบบของรายการวิทยุหลาย ๆ รูปแบบ ผสมผสานกันให้พอเหมาะพอควรเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย แต่ให้ทั้งความบันเทิงและความรู้ที่ไม่หนักสมอง
จากคำจำกัดความดังกล่าวนั้น จึงพอสรุปได้ว่ารายการสารคดี จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ
1. ต้องเป็นเรื่องเดียวตลอดรายการ เช่น ถ้าจะผลิตสารคดีเรื่องน้ำ เนื้อหาทั้งหมดก็จะต้องเกี่ยวกับน้ำ โดยอาจจะเริ่มด้วยกำเนิดของน้ำ สภาพของน้ำดีน้ำเสีย ประโยชน์ของน้ำเป็นต้น สวนที่จะเน้นเนื้อหาส่วนใด ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการผลิต
2. เป็นข้อเท็จจริงทั้งหมด การเสนอสารคดีจะต้องค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบรายการ ให้มีเนื้อหาครอบคลุมทุกแง่ทุกมุม โดยเนื้อหาสาระเหล่านั้นจะต้องเป็นจริงทั้งหมดและสามารถอ้างอิงได้
3. เป็นการเล่าโดยละเอียดด้วยเทคนิคการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ กันใน 1 รายการ ดังนั้นในรายการหนึ่งก็อาจจะใช้รูปแบบของการบรรยาย การสัมภาษณ์ ละครสั้น สนทนา หรือแม้แต่เพลงและดนตรี มาผสมกันโดยเรียงลำดับเนื้อหาให้เหมาะกับรูปแบบต่าง ๆ นั้น โดยไม่ขัดหู เพื่อจูงใจผู้ฟังให้สนใจติดตามฟังตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อเสนอแนะว่าสำหรับรายการสารคดีนั้น ควรจะใช้เสียงจริงหรือเสียงที่ทำให้เกิดจินตภาพให้มากกว่าการบรรยาย จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามได้มาก

เทคนิค 3 ประการในการเขียนเรื่องสั้น


ในปัจจุบันนักอ่านหลาย ๆ ท่าน  ก็อยากเป็นนักเขียน  บ้างก็ชอบเขียนเรื่องสั้น  บ้างก็ชอบเขียนนิยาย  บ้างก็ชอบเขียนสารคดี  ฯลฯ  การเขียนแต่ละประเภทก็จะมีความยากง่ายและรายละเอียดที่แตกต่างกัน  แต่ถ้าท่านไหนอยากจะเขียนเรื่องสั้นละก็เรามีเคล็ดลับดี ๆ ในการเขียนเรื่องสั้นมาฝาก
                                ประการแรก  การเขียนเรื่องสั้นต้องมีแนวความคิดหลักของเรื่องหรือที่เรียกว่า Theme นั่นเอง  แต่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าต้องมี Theme เท่านั้นถึงจะเขียนได้หรือเปล่า คำตอบคือไม่จำเป็นค่ะแต่การเขียนเรื่องสั้นบางครั้งการที่เราไม่รู้ว่าแนว ความคิดหลักของเรื่องคืออะไรอาจจะทำให้เรื่องที่เราเขียนขาดทิศทางในการ ดำเนินเรื่อง  ทำให้เรื่องที่เขียนออกมาทำให้ผู้อ่านสับสน  ไม่รู้ว่าผู้เขียนโฟกัสตรงจุดไหน  และต้องการบอกอะไร
                                ประการที่สอง  คือ  การวางพล็อตเรื่องค่ะ  เราควรวางพล็อตว่าเรามี Theme  แบบนี้เราจะดำเนินเรื่องแบบไหน  การวางพล็อตควรวางพล็อตแบบคร่าว ๆ   เช่น  เปิดเรื่องอย่างไร  ตัวละครเป็นใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  ผลเป็นอย่างไร  และปิดเรื่องอย่างไร  การวางพล็อตเรื่องถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด  เหตุเพราะว่าเรื่องที่อ่านจะออกมาสนุก  น่าสนใจ  ซาบซึ้ง  ก็เพราะพล็อตเรื่องที่ดี  เพราะฉะนั้นเมื่อได้ Theme  มาแล้วนักเขียนควรที่จะวางพล็อตจาก Theme นั้นอย่างรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
                                ประการสุดท้าย  การเขียนเรื่องสั้นยากกว่าการเขียนเรื่องยาวตรงที่ผู้เขียนต้องใส่ความสมจริงลงในหน้ากระดาษที่จำกัด  ต้องให้ผู้อ่านรู้สึกว่าสิ่งที่เราเขียนนั้นมีตัวตนจริง ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องสมมุติ  นอกจากจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นเรื่องจริงแล้ว  สิ่งที่ลืมไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งคือ  การใส่เหตุและผลให้กับตัวเรื่อง  ตัวอย่างเช่น  ตัวเอกเมื่อยังเยาว์ถูกพ่อกระทำทารุณ  โตขึ้นมาจึงเป็นคนชอบใช้กำลัง  เป็นต้น  การใส่เหตุผลของการกระทำนั้น ๆ ทำให้ผู้อ่านคล้อยตามสิ่งที่เราเขียน  หรือบางครั้งผู้เขียนอาจจะใช้เทคนิคเปิดเรื่องด้วยการกระทำนั้นก่อนแล้วเฉลยในตอนท้ายเรื่องก็ได้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงทำแบบนั้น  ก็เป็นอีกหนึ่งกลวิธีการเขียนที่ทำให้ผู้อ่านติดตามได้อย่างดี
                                เทคนิคทั้ง 3 ประการนี้เป็นแค่เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเขียน  หากท่านใดอยากเขียนเรื่องได้ดีก็ต้องลงมือเขียน แล้วเทคนิคที่เหลือนั้นก็จะเกิดจากการพัฒนาของท่านเอง

ที่มา : TooTked มนุษย์ - ภาษาไทย มช ปี ๒

เรื่องสั้นและการเขียนเรื่องสั้น


เรื่องสั้น หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้วเกี่ยวกับเรื่องราวที่สมมุติขึ้น มีโครงเรื่องง่ายๆและมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงไปถึงจุดสุดยอดของเรื่องที่ กำหนดไว้ โดยการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้นๆ ผ่านตัวละครจำนวน 3-5 ตัว และอยู่ภายใต้แนวคิดสำคัญเพียงแนวคิดเดียว โดยส่วนมากเรื่องสั้นมีความยาวประมาณ 8,000 คำ อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลวิธีการเขียนของผู้เขียน ความยาวหรือสั้นจึงไม่ได้กำหนดตายตัว แต่จะยึดลักษณะการเขียนเป็นสำคัญ
ชนิดของเรื่องสั้น 
  1. เรื่องสั้นชนิดเน้นการผูกเรื่อง คือผู้เขียนมักสร้างปมขัดแย้งขึ้นมา ทำให้เกิดความซับซ้อน และมักจบลงด้วยการพลิกความคาดหมายของผู้อ่าน
  2. เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างตัวละคร คือ เรื่องสั้นที่เน้นพฤติกรรมของตัวละคร โดยใช้ตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่องเป็นส่วนใหญ่ โดยมักบรรยายเพื่อแสดงลักษณะของตัวละครอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด่นชัด
  3. เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างบรรยากาศหรือฉากเป็นสำคัญ คือ เรื่องสั้นที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญของฉากและบรรยากาศ เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม
  4. เรื่องสั้นชนิดเน้นแนวคิดหรือความคิดเห็น คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนต้องการเสนอแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อ่าน ได้ไตร่ตรองไปพร้อมๆกับเรื่องในขณะที่อ่าน โดยใช้สัญลักษณ์ กล่าวโดยนัย หรือมุ่งเน้นให้เห็นสัจธรรมของชีวิต

  องค์ประกอบของเรื่องสั้น 
  1. 1.               โครงเรื่อง(Plot)
โครงเรื่อง คือ เหตุการณ์เรื่องราวที่ผู้เขียนร่างขึ้นคร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินเรื่อง ให้น่าสนใจ ชวนติดตามสมเหตุสมผลเรื่อยๆจนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) และคลี่คลายจบลงด้วยดี หรือคาดไม่ถึงก็ได้
โครงสร้างของเรื่องมี 3 ส่วนดังนี้
  1. ส่วนเริ่มเรื่อง(Exposition) หรือ ส่วนต้นเรื่องเป็นการกำหนดสภาวะของเหตุการณ์เพื่อปูทางดำเนินเรื่อง และเป็นการดึงดูดความสนใจไปด้วย โดยอาเปิดเรื่องด้วย การบรรยาย พฤติกรรมของตัวละคร ใช้บทสนทนา เป็นต้น
  2. ส่วนดำเนินเรื่อง (Complication) เป็นส่วนที่เรื่องรวมกำลังดำเนินไป และมักเกิดปัญหาหรือปมขัดแย้ง การเผชิญหน้าของตัวละครกับ เหตุการณ์ หรืออุปสรรค ความทุกข์ เพื่อเร้าใจผู้อ่าน ซึ่งข้อสำคัญอีกอย่างคือ ไม่ควรให้ยืดเยื้อ เพราะมันจะทำให้น่าเบื่อ ปม หรือปัญหาในเรื่องควรคลายที่ละน้อยๆ เพื่อให้ผู้อ่านผ่อนคลายไปด้วย
  3. ส่วนปิดเรื่องหรือการปิดจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) เมื่อดำเนินเรื่องมาจนถึงตอนที่ตึงเครียดและเร้าใจที่สุดแล้วก็ค่อยๆคลายปม ออกและจบลง ซึ่งตอนจบก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จบเรื่องแบบมีความสุขสมหวัง จบแบบคาดไม่ถึง แบบทิ้งปัญหาให้ผู้อ่านได้จินตนาหารต่อไป
2 แก่นของเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง(Theme)
แก่นของเรื่องคือ แนวคิดสำคัญหรือแนวคิดหลักที่ปรากฏตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเข้าด้วยกัน ผู้เขียนสามารถเสนอได้หลักๆดังนี้
  1. แก่นที่แสดงพฤติกรรม คือ เน้นที่จะเสนอพฤติกรรมของตัวละครให้เด่นชัดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุ ของการเกิดปัญหาเรื่อง ทั้งด้านดีและไม่ดี เพื่อให้ผู้อ่านควรยึดถือพฤติกรรมใดเป็นแบบอย่างหรือไม่ควรยึดถือพฤติกรรมใด เป็นแบบอย่าง เช่น ความอดทนของตัวละคร หรือการยึดมั่นในอุดมการณ์
  2. แก่นที่แสดงอารมณ์ คือ เรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเน้นที่จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ เช่น ความรัก ความเหงา ความเศร้า ความอิจฉา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ และกลวิธีการของผู้เขียนด้วย
  3. แก่นที่แสดงสภาพและเหตุการณ์ คือ แก่นที่มุ้งเน้นแสดงให้เห็นภาพของชีวิต สังคมของตัวละคร
  4. แก่นทัศนะ คือ เป็นแก่นที่มุ่งเน้นที่จะเสนอความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่ง เช่น ค่านิยมในสังคม ความซื่อสัตย์ รวมถึงสิ่งตรงกันข้ามโดยใช้ตัวละครเป็นสื่อกลาง
3.ตัวละคร (Character)
                 ในเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งนั้น ต้องมีตัวละคร ประมาณ1-5 ตัวเท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทำให้โครงเรื่องซับซ้อน และสบสน ตัวละครควรมีตัวเอกเพียงตัวเดียว และควรกล่าวให้เด่นชัดที่สุด ส่วนตัวประกอบนั้นอาจกล่าวให้เห็นบ้างไม่ควรเด่นชัดเกินไป คือให้เป็นลักษณะเดียวกันกับฉาก โดยอาจกล่าวเป็นหมู่หรือคณะ ตัวละครอาจไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ อาจเป็นพืช สัตว์ สิ่งของ หากเป็นมนุษย์ต้องมีความสมจริงทางด้านพฤติกรรม และการพูดจาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างมาเหตุสมผล
4.บทสนทนา (Dialogue)
บทสนทนา คือ ถ้อยคำที่ตัวละครพูดโต้ตอบกันในเนื้อเรื่อง ซึ่งเขียนอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ บทสนทนามีส่วนช่วยให้การดำเนินเรื่องและสร้างบรรยากาศให้เรื่องราวดูสมจริง มากขึ้น ทั้งยังทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้ฟังผู้อื่นพูดคุยสนทนากัน
ลักษณะของบทสนทนาที่ดี
  1. ใช้ภาษาได้สมจริงกับฐานะและบุคลิกภาพของตัวละคร
  2. สามารถสื่อให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้อย่างชัดเจน
  3. ชี้ให้เห็นสภาพ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี การศึกษา และการปกครองในเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี
  4. เสนอแนวคิด ค่านิยมถึงผู้อ่านโดยไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนถูกสั่งสอน
  5. ใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เข้าใจง่ายและไม่นอกเรื่อง
อย่างไรก็ตาม บทสนทนาก็ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของเรื่องสั้นเสมอไปเพราะในเรื่องสั้นบาง เรื่องนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้บทสนทนาก็สามารถดำเนินเรื่องไปได้
5.ฉาก (Setting)
 ฉาก คือ สถานที่ เวลา และบรรยากาศในเรื่องที่ผู้แต่งสร้างขึ้นเพื่อบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยส่วนมากเรื่องสั้นทั่วไปไม่นิยมบรรยายฉากมากเพียงแค่บรรยายอย่างคร่าวๆ กล่าวอย่างตรงไปตรงมาเน้นความกระชับ และฉากยังเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านทราบถึงบรรยากาศในท้องเรื่องอีกด้วย
    การบรรยายฉาก นอกจากจะบรรยายโดยตรงแล้วยังสามารถบรรยายทางอ้อมได้โดย ผ่านทางบทสนทนาของตัวละคร ผ่านวัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น ข้อควรคำนึงของการบรรยายฉากคือ ผู้เขียนจะต้องศึกษาค้นคว้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ทางภูมิศาสตร์ หากผิดเพี้ยนจะทำให้ความต้องการเสริมบรรยากาศในเรื่อง อาจถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว
กลวิธีการแต่ง
กลวิธีการแต่ง หมายถึง วิธีที่ผู้เขียนใช้ในการนำเสนอเรื่องราวเพื่อให้ดำเนินเรื่องไปตามที่วางไว้ และเข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องตามความต้องการของผู้เขียนเอง
กลวิธีการแต่งมี 3ขั้นตอนดังนี้
  1. ตอนเปิดเรื่อง ควรเปิดเรื่องให้น่าสนใจมากที่สุด สามารถดึงดูดใจผู้อ่านต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งการเปิดเรื่องสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การบรรยายฉาก บรรยายพฤติกรรมของตัวละคร หรือใช้บทสนทนา
  2. ตอนดำเนินเรื่อง ในตอนนี้ผู้เขียนทั่วไปมักผูกปมปัญหา สร้างอุปสรรคให้ตัวละครได้เผชิญและแก้ปัญหา เพื่อให้เห็นความยุ่งยาก เกิดความขัดแย้ง ตลอดจนทำให้ผู้อ่านคล้อยตาม หรือมีอารมณ์ร่วมในเรื่อง เช่นความสงสาร ความเกลียดชัง ความทุกข์ยาก
  3. ตอนจบเรื่อง อาจจบลงในตอนที่ปมปัญหาคลายแล้ว หรือจบลงที่จุดสุดยอดของเรื่องก็ได้ การจบอย่างที่กล่าวไปข้างต้น คือสามารถจบได้หลายแบบ เช่น จบแบบพลิกความขาดหมาย จบแบบทิ้งปัญหาไว้ให้คิดตาม เป็นต้น

เมื่อเราศึกษาการเขียนเรื่องสั้นข้างต้นที่กล่าวมาจนเข้าใจแล้ว สิ่งต่อมาคือต้องลงมือเขียน การที่เราจะลงมือเขียนก็จำเป็นต้องเลือกแนวและที่จะเขียนให้เด่นชัด แน่นอนก่อน แนวของเรื่องสั้นนั้นก็มีหลายแนว เช่น แนวรัก ต่อสู้ผจญภัย แนวตลก แนวสยองขวัญ แนวชีวิต ซึ่งแนวเหล่านี้เหมาะแก่การเขียนเรื่องสั้นเพราะ ไม่ต้องอธิบายเหตุผลให้ผู้อ่านเข้าใจมากนักหรือใช้เวลาในการอธิบายน้อย ซึ่งผู้เขียนจะเลือกแนวไหนนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดในการเขียน ความชอบ หรืออยากเขียน  เท่านี้ก็เป็นพื้นฐานในการเริ่มเขียนได้แล้ว

และสิ่งต่อมาคือการก้าวสู่เส้นทางนักเขียนโดยสมบรูณ์ ซึ่งสิ่งที่นักเขียนต้องมีคือ
1. เชื่อมั่นในตัวเอง  ความเชื่อมั่นในตนเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เรากล้าที่จะนำเสนองานของตัวเอง ก่อนอื่นอาจเริ่มจากการให้เพื่อน หรือคนรู้จักอ่านผู้ที่มีความรู้ในด้านงานเขียน แล้วจึง เอางานที่ตัวเองเขียนไปเสนอตามสำนักพิมพ์ต่างๆ อย่ากลัวที่จะปฏิเสธ ถ้ายังไม่เคยลองดูก็ ลองดูเถอะ เพียงแค่เชื่อมั่นในผลงานของตัวเองหรือคิดว่ามันยังไม่ดีพอ ถ้าคิดว่ายังก็รีบปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น แล้วเสนองานซะ บางทีเราอาจพบในจุดที่บกพร่องของเราก็ได้แล้วมันยิ่งจะทำให้เราพัฒนาตัวเอง ให้เร็วละดียิ่งๆขึ้นไป
2. ความตั้งใจ
ความตั้งใจอาจบวกด้วยความชอบยิ่งมีพลังมากขึ้น งานเขียนจะต้องตั้งใจจริงไม่ย่อท้อง่ายๆเพียงเพราะการถูกปฏิเสธจากสำนัก พิมพ์ “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” คตินี้ใช้ได้จริงกับนักเขียน เพียงแค่แสดงความตั้งใจจริงลงไปในผลงาน อย่างพิถีพิถัน และความรักในงานเขียนไม่ทำงานลวกๆ หรือพอผ่านๆ ความตั้งใจเป็นสิ่งหนึ่งทีจำเป็นต่อการเป็นนักเขียน
3. การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
เป็นสิ่งที่คนทำงานเขียนทุกๆด้าน จะต้องมีแม้ว่าจะเป็นนักเขียนหน้าใหม่ แต่คุณต้องก้าวสู่วงหารนักเขียนมืออาชีพอยู่ดีการพัฒนาฝีมือเสมอๆเป็นสิ่ง หนึ่งที่ต้องทำเป็นประจำ เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและไม่ซ้ำซาก น่าเบื่อ และค้นพบตัวเอง เทคนิค ใหม่ๆ แสดงถึงผู้เป็นมืออาชีพของการทำงานทุกวงการและเพิ่มคุณภาพของงานและตัวคุณ เอง สู่ความสำเร็จในระดับที่สูงๆยิ่งขึ้นอีก



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://eviltwin-bussaba.exteen.com/20110128/entr

ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน

การใช้ภาษาไทยในอินเตอร์เน็ต

1. การใช้ภาษาไทยเพื่อการสืบค้น

สารสนเทศที่บันทึกในรูปอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ ได้รับการจัดหมวดหมู่ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้โดยวิธีการต่างๆ กัน เช่น ใช้คำสำคัญเป็นตัวนำเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการ หรือทำการสืบค้นด้วยการใช้สาระสังเขป หรือชื่อผู้แต่ง สารสนเทศที่บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ มีลักษณะทั้งที่เป็นตัวหนังสือ ตัวเลข และรูปภาพ ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในรูปตัวหนังสือจะจับกลุ่มกันเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า “ระเบียน” เมื่อคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลจะค้นทีละระเบียน เมื่อค้นพบก็จะส่งผลมาให้แก่ผู้ใช้ทั้งหมด หรือเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วแต่ผู้ใช้จะคัดสรรไปใช้ประโยชน์



การสืบค้นข้อมูลจาก OPAC เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นรายการบัตรของห้องสมุด เป็นการสืบค้นจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย เช่น หอสมุดของหลายมหาวิทยาลัยสร้างฐานข้อมูลหนังสือและดรรชนีวารสารโดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ซึ่งนักศึกษาสามารถค้นจากรายการบัตรห้องสมุด (Online Public Access Catalog – OPAC) โดยเข้าใช้จากเว็บไซต์ของสถาบันแล้วเลือกเข้าสู่สำนักหอสมุดของสถาบันนั้นๆ



การสืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในงานบริการสารสนเทศเพื่อค้นหาสารสนเทศที่ให้ประโยชน์มหาศาลแก่งานบริการสารสนเทศของห้องสมุด ผู้ค้นข้อมูลสามารถตรวจสอบสารบัญของฐานข้อมูลโดยผ่านโครงสร้างที่ตกลงกันไว้ด้วยระบบการค้นในสารสนเทศโดยใช้หัวเรื่อง (Subject) และคำสำคัญ (Keyword) การค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ เป็นระบบที่โต้ตอบกันได้ และผู้ใช้สามารถปรับ การค้นของตนได้ ดังนั้นจึงสามารถเปลี่ยนหรือเรียกข้อมูลกลับได้ตรงจุดที่ต้องการได้ทันที ก่อนเริ่มต้นการสืบค้นควรเลือกฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วป้อนศัพท์ หรือหัวเรื่องที่ใช้ค้น และใช้เทคนิคในการค้นจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงสั่งพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์หรือบันทึกลงในแผ่นดิสเก็ตได้ทันที



2. การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต

เช่นเดียวกับการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทั่วๆ ไป ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้

2.1 ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า “ปอก” กับ “ปลอก” สองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า “ปอก” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า “ปลอก” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

“วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ” (ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี

2.2 ใช้คำให้เหมาะสม เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น

“ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า “ยังไง” เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้ “อย่างไร”

“เมื่อสมชายเห็นรูปก็โกรธ กระฟัดกระเฟียด มาก (ควรใช้ โกรธปึงปัง เพราะกระฟัดกระเฟียดใช้กับผู้หญิง)

2.3 การใช้คำลักษณนาม ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น

2.4 การเรียงลำดับคำ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัดเรียงไว้ในประโยค เช่น

แม่เกลียดคนใช้ฉัน ฉันเกลียดคนใช้แม่

คนใช้เกลียดแม่ฉัน แม่คนใช้เกลียดฉัน

ฉันเกลียดแม่คนใช้ แม่ฉันเกลียดคนใช้

ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้

- เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร

(ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร)

- เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง

(ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย)

- เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา

(ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)

2.5 แต่งประโยคให้จบกระแสความ หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบของประโยคบางส่วนไป เช่น

เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว

(ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)

2.6 ใช้ภาษาให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้ เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ 2 ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง

2.7 ใช้ภาษาให้สละสลวย ใช้ภาษาอย่างไพเราะราบรื่น ฟังไม่ขัดหู และมีความกะทัดรัด

- ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น

“วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน”

คำว่า “ทำการ” เป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น

“วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน”

- ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้

“หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”

(ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”

- ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ เช่น

“มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป”

(ควรแก้เป็น “เขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)

- มีเทคนิคการรวบความโดยนำหลายประโยคมาเขียนรวมกันให้กระชับรัดกุม สามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้

(1) กรณีที่ประโยคเหล่านั้นมีประธานหลายคำแต่มีกริยาหรือมีพฤติกรรมอย่างเดียวกัน เช่น

“วิเชียรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ สมหญิงก็เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ และอนุศักดิ์ก็เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพเช่นเดียวกัน”

จะเห็นว่า 3 ประโยคนี้มีประธานไม่ซ้ำกัน แต่มีกริยาอย่างเดียวกัน คือต่างก็เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ ฉะนั้นจึงเขียนรวบความเสียใหม่ว่า

“วิเชียร สมหญิง และอนุศักดิ์ ต่างก็เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพเหมือนกัน”

(2) กรณีใจความมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลกัน ให้เรียงใจความที่เป็นเหตุไว้ก่อน แล้วตามด้วยใจความที่เป็นผล หรือใจความที่เป็นการสรุปความ เช่น

“ใบหน้ายิ้มแย้ม ดวงตาแจ่มใส ตั้งใจในอันสนทนา วาจาไพเราะ เอื้อเฟื้อเหลือล้น คอยดูแลเสมอ เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของผู้จงใจคบ” ดีกว่าจะเขียนว่า

“เหล่านี้เป็นเครื่องหมายของผู้จงใจคบ คือใบหน้ายิ้มแย้ม ดวงตาแจ่มใส ตั้งใจในอันสนทนา วาจาไพเราะ เอื้อเฟื้อเหลือล้น คอยดูแลเสมอ”

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น ย่อมทำให้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ทุกประเภทมีประสิทธิภาพและได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร



3. การใช้ภาษาไทยเพื่อติดต่อธุรกิจ

การนำภาษาไทยมาใช้ในการติดต่อสื่อสารธุรกิจ ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญที่จะได้จากการฝึกฝนเล่าเรียนถึงหลักการใช้ภาษาไทย จนสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินธุรกิจต้องมีความฉับไว รวดเร็ว ภาษาที่ใช้จึงแตกต่างจากภาษาสามัญทั่วไป กล่าวคือ การใช้ภาษาจะตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย มีข้อความครบถ้วนสมบูรณ์ สุภาพทั้งการพูดและการเขียน รวมทั้งมีความแนบเนียน ใช้คำพูดหรือข้อความได้เหมาะสมทั้งบุคคลและโอกาส นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักภาษาไทยและการใช้ตัวสะกดการันต์ ตลอดจนเครื่องหมายวรรคตอนอีกด้วย การพูดหรือเขียนจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องธุรกิจเท่านั้น ไม่มีเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ด้านธุรกิจเป็นสำคัญ ทั้งมีรูปแบบเฉพาะในวงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลติดต่อเข้าใจตรงกัน จึงต้องอาศัยวิชาอื่นๆ เข้าช่วยด้วย เช่น จิตวิทยา มนุษยสัมพันธ์ กฎหมาย ตรรกวิทยา และศิลปะกลวิธีในการใช้ภาษาให้สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมายของผู้สั่งการ

ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างๆ นิยมใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารเพื่อทำธุรกิจระหว่างองค์กร หรือระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อกันมาก เพราะสะดวกรวดเร็ว และอินเตอร์เน็ตยังเป็นสื่อกลางที่สามารถให้ข้อมูลสินค้าหรือองค์กรได้ชัดเจนมีรายละเอียดมากกว่าสื่อสารมวลชนชนิดอื่นๆ ฉะนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญแก่การใช้คำศัพท์และสำนวนในการติดต่อธุรกิจผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตเช่นเดียวกับการติดต่อธุรกิจด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดแจ้ง และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น รูปแบบของการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจสามารถอธิบายได้ดังนี้





3.1 คำศัพท์ที่ใช้ทางธุรกิจ คำศัพท์ทางธุรกิจที่เป็นการบัญญัติศัพท์ต่างประเทศ มีดังนี้

1. การใช้ภาษาต่างประเทศโดยการทับศัพท์ เหตุที่ใช้เพราะถ้าแปลแล้วความหมายใหม่ไม่ดีเท่ากับความหมายเดิม เช่น ครีม คลินิก โกดัง แก๊ส บาร์ สไตล์ คัทลียา ชอล์ก เช็ค แชร์ โชว์ โซดา ฯลฯ

2. การใช้คำภาษาต่างประเทศโดยแปลเป็นคำศัพท์ใหม่ที่ไพเราะเช่น บัญชี (Account) สินทรัพย์ (Assets) พันธบัตร (Bond) ดุลการค้า (Balance of Trade) หนี้สูญ (Bad Debts) ทุน (Capital) ข้อมูล (Data) ผู้บริโภค (Consumer) ตลาดเสรี (Free Market) กำไรขาดทุน (Profit and Loss) เป็นต้น

3. ใช้ทั้งข้อ 1 และ 2 คือทับศัพท์เดิมและแปลความหมายเป็นภาษาไทยด้วย เช่น สินเชื่อ เครดิต (Credit) ตัวแทน เอเย่นต์ (Agent) เป็นต้น



3.2 สำนวนการติดต่อสื่อสารธุรกิจ เช่น การเขียนจดหมาย บันทึกข้อความ รายงาน ฯลฯ รูปแบบการเขียนเป็นลักษณะเฉพาะของสารแต่ละชนิด ส่วนสำนวนที่ใช้ในการโฆษณาสินค้าหรือบริการ มักจะเป็นวลีหรือประโยคสั้นๆ หรือเป็นคำขวัญที่ใช้ศิลปะการร้อยกรองง่ายๆ มีคำสัมผัสเพียง 2-3 วรรค เพื่อให้ผู้อ่านจำได้ง่าย เช่น

ธนาคารมหานคร เอื้ออาทรพี่น้องไทย

คุณภาพก้าวไกล ภูมิใจทั้งชาติ ทุกบาทคุ้มค่าด้วยธานินทร์

คุ้มค่าทุกนาทีดูทีวีสีช่อง 3



3.3 ตัวอย่างการใช้ศัพท์ธุรกิจ

“เบี้ยประกัน” คือจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันจะต้องส่งเป็นงวดๆ

ถ้าสงครามยุติลงกิจการด้านสินค้ามี “แนวโน้ม” เพิ่มแต่กิจการด้านโรงแรมก็จะมี “แนวโน้ม” ลดลง

คลื่นลูกนี้ได้ถาโถมเข้าใส่ “อุตสาหกรรมโฆษณา” ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์แล้ว

การเล่น “แชร์” เป็นการผิดกฎหมาย

ถ้ามอง “การแข่งขัน” ในลักษณะนี้ อีกมุมหนึ่งก็คือเป็นภาวะที่ “ผู้ผลิต” รายเล็ก จะลำบากเพราะ “เทคโนโลยี” ไม่ถึง



3.4 การเขียนคำให้ถูกต้อง

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระเบียบแบบแผน โดยเฉพาะในเรื่องภาษาเขียนนั้นมีกฎเกณฑ์ที่ยุ่งยาก ทำให้เขียนหนังสือผิดอยู่เสมอ ก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสารเป็นประจำ ดังนั้นหากไม่แน่ใจควรเปิดพจนานุกรมเสียก่อน สำหรับคำภาษาต่างประเทศซึ่งมักพบได้ในอินเตอร์เน็ตหลักการสังเกตมีอยู่ว่าต้องไม่ใช้ไม้ตรีสำหรับคำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำจึงจะได้เสียงที่ต้องการ คำนึงถึงความไม่รกตา ตัดเครื่องหมายบ้างให้ผู้อ่านอ่านเอง การทับศัพท์ด้วยความเคยชินจะต้องไม่ขัดกับหลักอักขรวิธีของไทยด้วย



3.5 สาเหตุของการเขียนหนังสือผิด

1. ไม่ทราบความหมายของคำ เช่น “ประณีต” (เรียบร้อย” เขียนเป็น “ปราณีต”

2. ใช้แนวเทียบผิด เช่น “จำนง” เขียนเป็น “จำนงค์” เพราะเทียบกับคำว่า “องค์”

3. ออกเสียงผิด เช่น “ผมหยักศก” ออกเสียงเป็น “ผมหยักโศก”

4. มีประสบการณ์มาผิด เช่น คำว่า “สังเกต” เขียนเป็น “สังเกตุ” เพราะจำมาผิด

5. ไม่รู้หลักภาษา เช่น เขียนสมาสคำว่า “ธุรกิจ” เขียนเป็น “ธุระกิจ”



3.6 ลักษณะของการเขียนผิด

1. ใช้พยัญชนะต้นผิด เช่น “ซากศพ” เขียนผิดเป็น “ทรากศพ” “ภูมิใจ” เขียนผิดเป็น “พูมใจ”

2. ใช้ตัวสะกดผิด เช่น “กากบาท” เขียนผิดเป็น “กากบาด” “กิเลส” เขียนผิดเป็น “กิเลศ”

3. ใช้ตัวการันต์ผิด เช่น “อุโมงค์” เขียนผิดเป็น “อุโมง” “เซ็นชื่อ” เขียนผิดเป็น “เซ็นต์ชื่อ”

4. การใช้ ร ล และคำควบกล้ำผิด เช่น “เรือดไร” เขียนผิดเป็น “เลือดไร” “จราจร” เขียนผิดเป็น “จลาจร”

5. การใช้ รร และ ไม้หันอากาศ เช่น “บันได” เขียนผิดเป็น “บรรได” “สีสัน” เขียนผิดเป็น “สีสรร”

6. การใช้ อัย ใอ ไอ ไอย และ อำ ผิด เช่น “อะไหล่” เขียนผิดเป็น “อะหลั่ย” “คัมภีร์” เขียนผิดเป็น “คำภีร์”

7. การใช้วรรณยุกต์ผิด เช่น “นะคะ” เขียนผิดเป็น “นะค๊ะ” “โน้ต” เขียนผิดเป็น “โน๊ต”

8. การประวิสรรชนีย์ผิด เช่น “จระเข้” เขียนผิดเป็น “จรเข้” “ขะมุกขะมอม” เขียนผิดเป็น “ขมุกขมอม”

9. การใช้คำพ้องเสียงผิดความหมาย เช่น “เกษียณอายุ” เขียนผิดเป็น “เกษียร” หรือ “เกษียน”

10. คำที่เขียนผิดได้หลายลักษณะ เช่น “สังเกต” เขียนผิดเป็น “สังเกตุ” “อนุญาต” เขียนผิดเป็น “อนุญาติ” เป็นต้น

ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/internet.htm

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

สำนวน คำว่า "ตอก"

จำอวดหน้าม่าน ตอนภาษาไทย

คำที่เป็นคำไทยแท้



ลักษณะคำไทยแท้

๑.คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นคำนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าภาษาคำโดด เช่น ลุง ป้า น้า อา กา ไก่ ฯลฯ มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่เกิดจาก

๑.๑ การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น

มะม่วง - หมากม่วง

ตะคร้อ – ต้นคร้อ

สะดือ - สายดือ

มะตูม - หมากตูม

๑.๒ การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น

ลูกกระดุม - ลูกดุม

ผักกระถิน - ผักถิน

นกกระจอก - นกจอก

ลูกกระเดือก - ลูกเดือก

๑.๓ การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น

จุ๋มจิ๋ม - กระจุ๋มกระจิ๋ม

เดี๋ยว - ประเดี๋ยว

ท้วง - ประท้วง

ทำ - กระทำ

๒. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมคำควบกล้ำแต่มีเสียงควบกล้ำอยู่บ้างเป็นการควบกล้ำด้วย ร,ล,ว และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ฯลฯ

๓. คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว

๔. การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น

ใจน้อย - น้อยใจ

กลัวไม่จริง - จริงไม่กลัว

๕. คำไทยจะใช้รูป “ไอ” กับ “ใอ” จะไม่ใช้รูป “อัย” เลย และจะไม่พบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ณ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า เฆี่ยน ศึก ศอก เศิก เศร้า ธ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น

คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดมี 8 มาตรา คำไทยจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่มีการันต์ เช่น

มาตราแม่กก ใช้ ก สะกด เช่น มาก จาก นก จิก รัก

มาตราแม่กด ใช้ ด สะกด เช่น กัด ตัด ลด ปิด พูด

มาตราแม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น จับ จบ รับ พบ ลอบ

มาตราแม่กน ใช้ น สะกด เช่น ขึ้น อ้วน รุ่น นอน กิน

มาตราแม่กง ใช้ ง สะกด เช่น ลง ล่าง อ่าง จง พุ่ง แรง

มาตราแม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลาม ริม เรียม ซ้อม ยอม

มาตราแม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น ยาย โรย เลย รวย เฉย

มาตราแม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ดาว เคียว ข้าว เรียว เร็ว

คำที่มีมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จะเป็นคำที่เป็นภาษาอื่นที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย





ขอบคุณที่มาจาก www.trueplookpanya.com

ระดับของภาษา

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา คือ ในการพูดหรือการเขียนต้องเปลี่ยนระดับภาษาให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล เมื่อใช้ภาษาต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างฐานะบุคคลกัน

ระดับของภาษาในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
๑. ภาษาแบบเเผน คือ ภาษาที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษาที่ถูกต้อง ดีงาม เป็นภาษาที่ใช้ในระดับพิการแลระดับทางการ ใช้ในการเขียนตำราและการติดต่อราชการ
๒. ภาษากึ่งเเบบเเผน คือ ภาษาที่ใช้ในการสนทนาที่ต้องรักษามารยาท หรือสนทนาระหว่างผู้มีบานะต่างกัน เป็นภาษาที่ใช้พุดหรือเขียนในที่ชุมชน เช่น การอภิปราย การพูดทางวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ การเขียนบทความทั่ว ๆ ไป
๓. ภาษาปาก คือ ภาษาที่เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เป็นภาษาระดับกันเอง เช่น ภาษาที่ใช้พูดจาติดต่อกันในชีวิตประจำวัน ภาษาที่ใช้กับเพื่อนสนิท เป็นต้น

ภาษาเเบบเเผน ภาษากึ่งเเบบเเผน ภาษาปาก
ข้าพเจ้า ดิฉัน ผม หนู ข้า
มารดา คุณเเม่ แม่
บิดา คุณพ่อ พ่อ
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ บางกอก
รับประทาน กิน ยัด
มาก มากมาย เยอะเเยะ ถมถืด
เป็นอย่างไร เป็นยังไง เป็นไง

ที่มา : ทรูปลูกปัญญาดอทคอม

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
             สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย  ไดแก่  สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน  ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกัน      และการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ  มาใช้มากมาย เช่น  ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษเป็นต้น

คำยืมจากภาษาเขมร   
           ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมานับพันปี ต่างถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมซึ่งกันและกัน ในสมัยโบราณ  ไทยรับเอา “อักษรขอมบรรจงและขอมหวัด”  มาใช้  ไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์  จึงมักบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาลงบนแผ่นหิน ใบลานใช้ตัวอักษรขอมเขียนคาถาอาคมต่าง ๆ ปรากฏตามพระพิมพ์  เหรียญพระเครื่อง  ตะกรุด  ผ้ายันต์ต่าง ๆ 

คำยืมจากภาษาจีน   
           ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันทางการทูตและการค้าขายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยมาทำมาหากินในประเทศไทย  แต่งงานกับคนไทยจนกลายเป็นพลเมืองไทย เชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก  มีการผสมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ตลอดมา  คำยืมในภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว   มักเป็นคำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน ไทยนิยมนำคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาพูด ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน

คำยืมจากภาษาอังกฤษ
            คนในโลกยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางและนิยมใช้กันมากที่สุด ไทยเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยทางการค้า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีทูตจากประเทศทางตะวันตกมาเจรจาเรื่องการค้ากับรัฐบาลไทย  พ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ  Hunter  เข้ามาค้าขายเป็นคนแรกในกรุงเทพฯ  
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีคณะทูตสอนศาสนาเข้ามา และได้นำวิทยาการใหม่ ๆ เช่น  การพิมพ์ การแพทย์ เข้ามาเผยแพร่  คำภาษาอังกฤษจึงเริ่มปรากฏในเอกสารภาษาไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ มากมาย  เช่น ชื่อชนชาติ ชื่อบุคคล ชื่อยศ, บรรดาศักดิ์ ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อศาสนา เป็นต้น
           ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีคำยืมภาษาอังกฤษปรากฏมากขึ้นในเอกสารประเภทจดหมายเหตุ พระราชหัตถเลขา  พงศาวดาร และคำสามัญ  คำเรียกเครื่องมือเครื่องใช้ เรียกทะเลมหาสมุทรก็มากขึ้นด้วย  
            สมัยรัชกาลที่ ๕ ภาษาอังกฤษขยายวงกว้างออกไปสู่ประชาชน เพราะมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิชาการต่าง ๆ มีศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ พฤกษศาตร์ สัตวศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย
            หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  คำยืมภาษาอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาในภาไทยอย่างกว้างขวาง  เพราะมีนักเรียนไทยไปเรียนศึกษาในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา การเดินทางระหว่างประเทศ  การสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการค้าในโลก  ตลอดทั้งการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆเช่นด้านบันเทิง กีฬา  แฟชั่น การแต่งกาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก  เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เรามีคำยืมภาษาอังกฤษทุกรูปแบบ  ทั้งคำทับศัพท์  คำแปลศัพท์ และศัพท์บัญญัติ  การยืมคำภาษอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยช่วยเปิดและขยายโลกทัศน์ด้านวิชาการ  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี และวัตถุนิยมแก่คนไทย ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่า  “ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของผู้มีการศึกษา มีความทันสมัย และอยู่ในสงคมชั้นสูง”


คำยืมจากภาษาชวา –มลายู

               ภาษาชวา –มลายู  ที่ยืมมาใช้ส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์หรือมากกว่า  ส่วนมากเป็นคำหมายถึงพืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และศิลปวัฒนธรรม หรือคำกริยาที่มีความหมายเฉพาะ  เช่น  กระดังงา  ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า งูกะปะ  หอกกะพง ปลากุเลา โลมา ลิงอุรังอุตัง กอและ กริช กำยาน ปาเต๊ะ  สลัก ว่าว จับปิ้ง ฆ้อง บุหงารำไป  ประทัด   โสร่ง โกดัง มัสยิด เบตง ภูเก็ต ตะเบ๊ะ

คำยืมจากภาษาโปรตุเกส
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกสได้แก่คำว่ากระดาษ (สันนิษฐานว่าเพี้ยนมากจาก  “กราตัส”)  กะละแม  กะละมัง (ขนม)ปัง  ปั้นเหน่ง หลา เหรียญ  บาทหลวง  เลหลัง  สบู่

คำยืมจากภาษาเปอร์เชีย
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เชีย เช่น คำว่า กุหลาบ(มาจากคำว่า Gul Gol แปลว่า กุหลาบ,  ดอกไม้ทั่วไปสีแดง  เติม suffix - ab เป็น กุลลาพ  แปลว่า น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกไม้เทศ  ไทยนำมาใช้แทนดอกไม้ขนาดย่อม มีกลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ  เช่น เกด คาราวาน ชุกชี ตาดเยียรบับ ตราตราชู  ฝรั่ง ราชาวดี  ศาลา  สนม  สักหลาด สุหร่าย  องุ่น  

คำยืมจากภาษาอาหรับ
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับได้แก่  กะลาสี  โกหร่าน (พระคัมภีร์กุรอาน)  ระยำ (การลงโทษโดยใช้ก้อนหินขว้างให้ตายเพราะทำผิดประเพณี  ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า  ชั่วช้าเลวทราม)

คำยืมจากภาษาทมิฬ– มลายู 
        ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาทมิฬได้แก่คำว่า  กะไหล่  กุลี  กานพลู  กำมะหยี่ จงกลนีตรียัมปวาย ปะวะหล่ำ   อาจาด   กะละออม   กะหรี่ (แกงแขกชนิดหนึ่ง)   ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษามลายู  ได้แก่คำว่า กว้าน พลายเพลาะ   ฝาละมี   กำมะลอ   สะบ้า   สมิง   กระแจะ   ตวัก  


ที่มา http://www.eduzones.com/

สูตรง่ายๆในการแบ่งระดับราชาศัพท์